User Online ( 15 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ‘ซิป้า’ ปั้นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยลดการนำเข้า
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

‘ซิป้า’ ปั้นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยลดการนำเข้า

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์ แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ถือเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเทคโน โลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่มีหน้าที่หลักในการสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อป้อนสู่ตลาดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ ซิป้า เล่าว่า ซิป้าถือเป็นหน่วยงานตรงเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นเวทีในการกระตุ้นให้นักพัฒนาคอนเทนต์ซอฟต์แวร์ในด้านต่าง ๆ ได้กล้าแสดงออก

ล่าสุด ซิป้าได้จัดโครงการซอฟต์แวร์ตีแตก ถือเป็นเวทีในการแข่งขันที่จะปั้นให้เหล่าบรรดานักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วประเทศ ทั้งระดับมืออาชีพ และนักเรียนนักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ได้เป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์มืออาชีพ หรือ “เซียนซอฟต์แวร์”

โดยเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เปิดรับสมัครผลงานซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยว โลจิสติกส์ สุขภาพ การศึกษา อาหารและการเกษตร อัญมณี ดิจิตอลคอนเทนต์ และ นิวส์มีเดีย รวมถึงซอฟต์แวร์ด้านอื่น ๆ รวม 40 ทีม จากทุกภาค และได้มีการคัดเลือกผลงานจนเหลือ 8 ทีมสุดท้าย

ประกอบด้วย ทีม SoGoodWeb ทีม Clear Projects ทีม School Os ทีม faceBIZ ทีม Digix ทีม Ideon ทีม ROOMLINKSAAS และทีม KNIGHTTEK

และเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา ซิป้า ได้เชิญกรรมการตัดสินเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและเทคโนโลยี ประกอบด้วย ดร.การดี เลียวไพโรจน์ อาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย อาจารย์ ปานระพี รพิพันธุ์ มารับฟังและให้ข้อเสนอแนะการพรีเซนต์ผลงานของทั้ง 8 ทีม

ปรากฏว่าผู้ชนะเลิศสุดยอดเซียนซอฟต์แวร์คือนายโสภณ เตตะยานนท์ ซีอีโอทีม KNIGHTTEK ผลงานซอฟต์แวร์โมบาย แอพพลิเคชั่น มาใช้งานกับระบบหลังบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มผลิตภาพของกิจการขนาดเอสเอ็มอี ช่วยให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีระบบตรวจสอบ ตลอดจนช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยจุดเด่นของซอฟต์แวร์นั้น สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาบนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ลดบันทึกซ้ำซ้อนของแผนกต่าง ๆ ในองค์กร ประหยัดเวลางานและค่าใช้จ่าย เป็นต้น

นายฉัตรชัย เล่าว่า การแข่งขันดังกล่าว ถือเป็นการสร้างเสริมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยก้าวสู่มืออาชีพอย่างสมบูรณ์ ป้อนเข้าสู่ตลาดไอทีที่ยังต้องการบุคลากรด้านนี้อีกมาก

เพราะปีที่ผ่านมาได้สำรวจความต้องการนักซอฟต์แวร์ ยังขาดแคลนถึง 8,136 คน แต่การบริโภคซอฟต์แวร์ในด้านต่าง ๆ กลับเพิ่มมากขึ้นและต้องอาศัยซอฟต์แวร์ต่างชาติ

ซิป้า ได้เร่งผลักดันบุคลากร นักธุรกิจซอฟต์แวร์หน้าใหม่สู่ตลาด โดยเฉลี่ยปีละ 20,000 คน โดยเข้าไปสนับสนุน ปีละ 400-500 คน เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และดิจิตอลคอนเทนต์ขยายตัวเต็มที่ โดยปี 2558 ตลาดนี้จะขยายตัวมีมูลค่ามากว่า 40,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตถึง 8%

นายโสภณ เล่าว่า ปัจจุบันได้จดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีลูกค้าประมาณ 2-3 ราย อยากฝากถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกท่านว่าอย่าท้อ อีกอย่างประ เทศไทยกำลังเข้าสู่เออีซี คนไทยจะต้องมีความแข็ง แกร่งกว่านี้ เพราะซอฟต์แวร์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จะต้องพัฒนาในทุก ๆ ด้าน

เมื่อมีเวทีให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้แสดงฝีมือและได้พัฒนาอย่างตรงจุด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ได้ไม่มากก็น้อย.
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.