User Online ( 11 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ไทยฮิต "สมาร์ทโฟน จุดพลุ "มาร์ตเก็ตติ้ง ออน โมบาย"
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ไทยฮิต "สมาร์ทโฟน จุดพลุ "มาร์ตเก็ตติ้ง ออน โมบาย"

จากจำนวนผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือ 100 คนในไทย พบว่าเป็นประเภท "สมาร์ทโฟน" หรือโทรศัพท์ที่มีคุณสมบัติทำงานใกล้เคียงคอมพิวเตอร์ทั่วไป 18 คน

จากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 100 คนในไทย พบว่าเป็นประเภท "สมาร์ทโฟน" หรือโทรศัพท์ที่มีคุณสมบัติทำงานได้ใกล้เคียงคอมพิวเตอร์ทั่วไป 18 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่ว โลกที่มีสัดส่วนอยู่ราว 30% อาจเป็นตัวเลขที่ยังห่างไกล แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของผู้ใช้ที่มากกว่าคำว่า "ก้าวกระโดด" อนาคตของธุรกิจที่ผูกติดกับกระแสของสมาร์ทโฟนจึงดูคึกคักมากเป็นพิเศษ

ผล สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้มือถือ 48,000 คนจาก 58 ประเทศรวมไทยโดย "ทีเอ็นเอส" บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดในเครือกันตาร์ หนึ่งในเครือข่ายด้านข้อมูลเชิงลึกและคำปรึกษาทางการตลาดแถวหน้าของโลกยังพบ สถิติที่น่าสนใจว่า ผู้ใช้มือถือทั้งแบบพรีเพด (เติมเงิน) และโพสต์เพด (รายเดือน) ต่างก็นิยมใช้การรับส่งข้อมูลผ่านมือถือ โดย 61% ของผู้ถูกสำรวจยินดีที่จะจ่ายค่าใช้บริการดังกล่าว

รอวัน 3จี-สมาร์ทโฟนพร้อม
ทั้ง นี้เนื่องจากมือถือเริ่มกลายเป็นเครื่องมือที่อยู่ติดตัวคนตลอดทั้งวันและมี กิจกรรมต่างๆ ที่ทำผ่านมือถือนอกเหนือจากการสื่อสารด้วยเสียงเหมือนที่ผ่านมา เช่น ใช้อินเทอร์เน็ต, ฟังเพลง และเล่นเกม ซึ่งเมื่อเจาะลึกข้อมูลเฉพาะประเทศไทยพบว่า คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 30% เทียบกับใช้ผ่านพีซีที่บ้าน 69%, พีซีที่ทำงาน 23%, ร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ 27% และแทบเล็ต 1% เจ้าของสมาร์ทโฟนในไทย 19% เป็นชาย, 18% เป็นหญิง ส่วนใหญ่ หรือราว 21% มีอายุเฉลี่ย 16-21 ปี

นาง สาวฟิโอนา บูคาแนน ผู้จัดการการพัฒนาภาคธุรกิจเทคโนโลยีและดิจิทัลกลุ่มบริษัททีเอ็นเอส กล่าวว่า เหตุที่เปอร์เซ็นต์การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือของคนไทยยังต่ำกว่าเมื่อ เทียบกับการใช้ผ่านพีซี เพราะไทยกำลังอยู่ในช่วงที่คนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับสมาร์ทโฟน ซึ่งเมื่อถึงวันที่เทคโนโลยีสำคัญ ทั้งตัวเครื่อง (ที่มีฟีเจอร์และราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น) และเครือข่ายพร้อมให้บริการได้อย่างครอบคลุมการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ของคนไทยจะยิ่งก้าวกระโดดมากขึ้นเหมือนกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เกาหลีที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงถึง 63%

"แอลบีเอส" กำลังมา
อย่างไรก็ตามแม้ ฟีเจอร์ส่วนใหญ่ที่ผู้ใช้มือถือไทยจะนิยมใช้จะอยู่ในหมวดเพื่อความบันเทิง เป็นส่วนใหญ่ เช่น ใช้ฟังเพลง, ดูคลิปวิดีโอ, โซเชียล เน็ตเวิร์ค และแชท แต่ความสนใจที่มีต่อบริการเพื่อความสะดวกสบายอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอพพลิเคชั่นประเภทบอกตำแหน่ง หรือ "โลเคชั่น เบส เซอร์วิส (แอลบีเอส)" กำลังขึ้นแท่นแอพที่เติบโตมากที่สุด ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนผู้ใช้บริการแอลบีเอสต่ำเพียง 4% แต่มีผู้ต้องการที่จะใช้งานในอนาคตสูงถึง 66%

"บริการแอลบีเอสที่ ฮอตๆ ในไทยตอนนี้ก็เช่น โฟร์สแควร์ และเฟซบุ๊ค เพลส ซึ่งคนเริ่มสนใจใช้มากกว่าเป็นบริการบอกทาง แต่ยังเป็นช่องทางรับข้อมูลทางการตลาดที่สนใจ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร และยังรู้ความเคลื่อนไหวของเพื่อนว่าเช็คอินอยู่ที่ไหนบ้าง เพราะโฆษณาทางมือถือจะพ่วงมาด้วยข้อเสนอที่อยู่ใกล้จุดที่อยู่ในขณะนั้น"

เธอ ระบุว่า กระแสดังกล่าวกำลังกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังที่จะทำให้นักการ ตลาดใช้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ

สนเครื่องใหม่จ่ายแพงกว่าเดิม
ขณะที่ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ตลาดสมาร์ทโฟนและ ความต้องการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อความสะดวกสบายจะยิ่งเติบโตมากขึ้นคือ การครอบคลุมของเครือข่าย 3จี และเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย หรือไวไฟที่กำลังเกิดขึ้นในไทย

นอกจากนี้ยังรวมถึงราคา "ดาต้า แพลน แพ็คเกจ" ที่ปัจจุบันยังมีราคาสูง หากอนาคตมีผู้ใช้บริการมากขึ้นและทำให้ราคาค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือ ถือต่ำลงได้อีกก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการใช้บริการที่หลากหลายผ่านมือถือมาก ขึ้น

ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับแนวโน้มการซื้อมือถือเครื่องใหม่ซึ่งผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้มือถือไทยมีแผนจะซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ราคาเฉลี่ยที่ 257 ดอลลาร์ (7,000-8,000 บาท)

"คน ใช้ดาต้าบนมือถือยิ่งใช้แล้วก็ยิ่งติด ดังนั้นข้อมูลที่ออกมาจึงพบว่าถ้าซื้อเครื่องต่อไปก็ยินดีจะจ่ายเงินเพิ่ม ขึ้น เพราะหวังว่ามือถือจะมีลูกเล่นเยอะขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของบริการใหม่ๆ ที่นิยมแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะบริการโมบาย เปย์เมนท์ และบริการประเภทคิวอาร์ โค้ดที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่การใช้บริการห้างร้านต่างๆ ด้วยใช้เช็คข้อมูลบริการหรือราคาของสิ่งของต่างๆ ได้ก่อนเดินไปซื้อหาจริง และไม่จำเป็นต้องพกเงินสดจำนวนมาก"

บูคาแนนสรุปว่า แบรนด์ โดยเฉพาะในกลุ่มคอนซูเมอร์ โปรดักส์ที่ต้องการจะใช้มือถือเป็นช่องทางสร้างการเติบโตให้ธุรกิจจึงควร ต้องมี "โมบาย โซลูชั่น" ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และยังควรต้องอิงกับกลยุทธ์ที่มีอยู่หน้าร้านด้วย โดยต้องไม่ลืมปัจจัยสำคัญทั้งความสะดวกสบาย, อิสรภาพ, ความรู้สึกเกี่ยวข้อง, ความโปร่งใส และสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้มือถือ

ทั้งนี้เพราะผลลัพธ์ที่ได้นอกจากจะสร้างการรับรู้ในแบรนด์แล้วยังเป็นช่องทางใหม่สำหรับการสร้างรายได้ให้การเติบโตของธุรกิจยุคที่สมาร์ทโฟนเริ่มครองเมือง
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.