User Online ( 4 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » กรรมของแอปเปิล"เรามีเงินเยอะเกินไป"
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

กรรมของแอปเปิล"เรามีเงินเยอะเกินไป"

เชื่อไหมว่าคน รวยก็ปวดหัวได้เหมือนกันเหมือน“แอปเปิล” ที่กำลังเผชิญชะตากรรมบนกองเงินกองทองจนต้องเร่งคิดหาวิธีจัดการกับเงิน 9 หมื่นล้านดอลล์

ปัจจุบัน แอปเปิล มีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 4.8 แสนล้านดอลลาร์ นับเป็นบริษัทมหาชน ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก และมากกว่ามูลค่าตามราคาตลาดของไมโครซอฟท์ บวกกับกูเกิลรวมกันเสียอีก ว่ากันว่า เงินจำนวนนี้ สามารถแบ่งให้พนักงานแต่ละคนได้มากกว่า 6.62 ล้านดอลลาร์ และหากนำธนบัตรดอลลาร์วางเรียงกัน จะครอบคลุมพื้นที่ 42% ของสหรัฐ

ขณะที่แอปเปิล มีเงินสดสำรองในมือ 9.76 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากทำยอดขายผลิตภัณฑ์ได้อย่างถล่มทลาย ซึ่งภาษีนิติบุคคลจากเงินจำนวนนี้ เพียงพอที่จะซื้อไอแพดแจกคนทุกคนในแคนาดาและกรีซ นอกจากนี้ ยังมากพอ ที่จะจ่ายหนี้สินของ 8 ประเทศในสหภาพยุโรป ได้แก่ สโลวาเกีย ลักแซมเบิร์ก บัลแกเรีย ลิทัวเนีย ลัตเวีย ไซปรัส เอสโตเนีย และมอลต้า หรือเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ให้กรีซ ที่กำลังประสบวิกฤตหนี้ในขณะนี้

ราว 2 ใน 3 ของเงินสำรอง ในมือแอปเปิลอยู่ในต่างประเทศ ในฐานะบริษัทข้ามชาติแอปเปิล จึงสามารถเก็บเงินสดไว้ต่างแดนได้ ซึ่งเหตุผลลึกๆ เป็นเพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีในอัตรา 35% หากส่งเงินกลับประเทศแม่

“ทิม คุก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของแอปเปิล ยอมรับ ในงานประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อไม่กี่วันนี้ว่า บริษัทมีเงินสดในมือมากเกินไป และทีมบริหารกำลังเร่งหาทางจัดการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ประเด็นมีเงินเยอะเกินไป กลายเป็นเรื่องท้าทายซีอีโอรายนี้ ที่ต้องเร่งหาทางออก ท่ามกลางเสียงของผู้ถือหุ้นที่ดังมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าแอปเปิล จะนำเงินเหล่านี้ไปใช้อย่างไร หลังจาก “สตีฟ จ็อบส์” ผู้ร่วมก่อตั้งแอปเปิลที่ล่วงลับไปแล้ว ไม่สนใจข้อเสนอที่ให้บริษัทจ่ายเงินปันผลรายไตรมาส ซึ่งแอปเปิล หยุดจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นมาตั้งแต่ปี 2538 เพราะมีปัญหาด้านการเงินในขณะนั้น ทำให้ต้องกระเหม็ดกระแหม่กับเงินทุกบาททุกสตางค์

ห้วงเวลายากลำบากทางการเงิน เป็นฝันร้ายที่ทำให้จ็อบส์ สั่งสมเงินสดในมือแม้ธุรกิจจะดีขึ้นมากในช่วงระยะหลังๆ แต่เมื่อจ็อบส์ ส่งไม้ต่อให้ทิม คุก แรงกดดันจากผู้ถือหุ้นให้นำเงินมาจ่ายปันผลก็เพิ่มขึ้น จนล่าสุด คุก ส่งสัญญาณว่า บริษัทอาจแบ่งเงินบางส่วนมาใช้ เพราะบริษัทมีเงินมากเกินความจำเป็นที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ

น่าสังเกตว่า หากแอปเปิล ยังคงความสำเร็จด้านผลิตภัณฑ์เอาไว้ได้ต่อไป บริษัทอาจมีเงินสดมากถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2556

นอกเหนือจากการจ่ายเงินปันผล มีข้อเสนอแนะให้แอปเปิลนำเงินไปลงทุนในด้านที่เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน หรือนำไปใช้ซื้อกิจการ แต่ที่ผ่านมาแอปเปิล นิยมครอบครองกิจการบริษัทขนาดเล็กมากกว่า ซึ่งแทบไม่ทำให้เงินที่มีอยู่ร่อยหรอไปสักเท่าไร

ล่าสุด ที่แอปเปิลควัก เงินจ่ายในลักษณะนี้ คือ ลงขันร่วมกับพันธมิตรอย่างไมโครซอฟท์และบริษัทอีก 3-4 ราย คิดเป็นเงินราว 4.5 พันล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อสิทธิบัตรหลายพันรายการจาก “นอร์เทล” บริษัทโทรคมนาคมที่ล้มละลาย

นอกจากนี้ แอปเปิล ยังใช้จ่ายราว 4.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2554 เพื่อครอบครองอสังหาริมทรัพย์ โรงงาน และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ส่วนอีก 3.2 พันล้านดอลลาร์ นำไปใช้ครอบครองสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ และราว 244 ล้านดอลลาร์ ใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองกิจการ

แต่เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง “กูเกิล” ยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นรายนี้เสนอซื้อกิจการ “โมโตโรลา โมบิลิตี้” เป็นเงินสดประมาณ 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์ อีกทั้ง บรรลุข้อตกลงครอบครองกิจการ 54 ข้อตกลง เฉพาะในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่แล้ว

อีกวิธีหนึ่งที่จะใช้เงินให้เกิดประโยชน์ คือ การนำไปใช้ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

ที่สุดแล้ว แนวทางของ “ทิม คุก” อาจไม่ได้แตกต่างจาก “สตีฟ จ็อบส์” มากนัก โดยยังคงใช้แนวทางเดิมๆ เพราะแอปเปิล ไม่ต้องการจะทำให้เกิดการขยับเชิงกลยุทธ์อย่างใหญ่โต ในช่วงเวลาที่ทุกอย่างกำลังไปด้วยดี ขณะที่ผู้บริหารแอปเปิล ก็น่าจะตระหนักถึงบทเรียนของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่บางราย ที่ต้องประสบกับความยากลำบากในการควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นๆ
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.