User Online ( 29 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ไตรสรณ์ วรญาณโกศล เก๋าไปตามเกม “แอ๊ปเปิ้ล”
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ไตรสรณ์ วรญาณโกศล เก๋าไปตามเกม “แอ๊ปเปิ้ล”

"ทำงานกับแอ๊ปเปิ้ลต้องมีเลือดบ้าบางอย่าง ให้เป็นนักลงทุนเต็มตัวมาเลย มักไม่ประสบความสำเร็จ"

ในระดับพื้นฐานที่สุดถ้า เอ่ยถึงสินค้าแบรนด์ “แอ๊ปเปิ้ล” บุคคลที่เปรียบเสมือนไอดอลทำให้ต้องอึ้ง ทึ่ง และระลึกถึงเป็นคนแรกคงหนีไม่พ้น “สตีฟ จ็อบส์” อดีตซีอีโอผู้ลาลับที่ทำให้โลกต้องจารึกชื่อเขาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ฐานะพ่อมดไอทีผู้ทำให้โลกเกิดอาการสั่นสะเทือน

หากแต่ใครได้ติดตามความเคลื่อนไหวของแวดวงไอทีประเทศไทยแล้ว ชื่อของ “ไตรสรณ์ วรญาณโกศล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสพีวีไอ จำกัด ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ไม่ใช่เพราะเขาเป็นนักบริหารมือเก๋าที่คลุกวงในธุรกิจไอทีมานาน ไม่ใช่เพราะตัวเลขกลมๆ หลักหลายพันล้านบาทที่ได้มาแต่ละปี แต่เป็นเพราะระยะเวลากว่า 23 ปีที่เขาทำให้บริษัทอยู่รอดและสร้างให้ธุรกิจเติบโตมาได้ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลงในนาม “ไอ สตูดิโอ บาย เอสพีวีไอ” หนึ่งในสี่ผู้แทนจำหน่ายสินค้าแอ๊ปเปิ้ลในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ไม่มี “สตีฟ จ็อบส์” ก็อยู่ได้

นายไตรสรณ์ เล่าถึงเส้นทางการบริหารคู่ขนานวิวัฒนาการของ แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ ว่า ผ่านช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง ที่ปวดหัวมากที่สุด คือ ยุคที่ สตีฟ จ็อบส์ ถูกปลดจากบริษัทครั้งแรก ขณะนั้นสายผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดของแอ๊ปเปิ้ลยังไม่ลงตัว มีสินค้าออกมาจำนวนมาก จนบริษัทต้องตัดสินใจถอยหลังออกมา ตัดสินค้าเหลือแค่ 2 แกน แบ่งเป็น กลุ่มคอนซูเมอร์กับโปรเฟสชั่นนัล กลุ่มสินค้าพกพากับตั้งโต๊ะ กระทั่งวันนี้ทุกอย่างลงตัวอย่างที่หวังไว้แล้ว

เขากล่าวอีกว่า ราว 6-7 ปีที่ผ่านมาแอ๊ปเปิ้ลหันไปพุ่งเป้าที่การขายในร้านค้าปลีกมากขึ้น ด้านเอสพีวีไอได้หันกลับมามองตัวเองและตัดสินใจเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากจุด เริ่มต้นที่ทำธุรกิจแบบครอบครัว มาเป็นมืออาชีพมากขึ้น ล่าสุดปี 2554 ได้ร่วมทุนกับ ไอที ซิตี้ ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนจาก เอสพีวี แอดวานซ์ ทุนจดทะเบียนเดิม 16 ล้านบาท เป็น เอสพีวีไอ ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท

“ทำงานกับแอ๊ปเปิ้ลต้องมีเลือดบ้าบางอย่าง ให้เป็นนักลงทุนเต็มตัวมาเลย มักไม่ประสบความสำเร็จ” นายไตรสรณ์ ว่า

แต่ถึงไม่มีสตีฟ จ็อบส์ แอ๊ปเปิ้ลก็ยังไปต่อได้ ถ้าใครได้ติดตามข่าวสารมาต่อเนื่อง จะรู้ว่าจ็อบส์เป็นเพียงผู้ชี้ขาดคนสุดท้าย ส่วนผู้บริหารงานเบื้องหลังมาพักใหญ่ๆ คือ "ทิม คุก" ซีอีโอคนปัจจุบันและมือดีอีกหลายคน

สร้างจุดต่างเพิ่มแต้มต่อ

ผู้บริหารร้านไอ สตูดิโอ บาย เอสพีวีไอ กล่าวถึงทิศทางธุรกิจปีนี้ว่า ไม่เน้นเพิ่มจำนวนร้านค้ามากนัก เพราะหลังตั้งบริษัทใหม่ ครึ่งปีหลังใช้เงินลงทุนไปกว่า 20 ล้านบาททำคอร์เนอร์ 40 จุดในร้าน ไอที ซิตี้ ไปแล้ว

“สิ่งที่เราวางแผนจะทำเพื่อสร้างจุดต่างให้ตัวเองและชิงส่วนแบ่งตลาดมา ให้ได้มากสุด คือ การเพิ่มแวลูให้กับการบริการ นั่นคือเพิ่มจำนวนศูนย์บริการให้ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถพนักงานให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมากขึ้น”

อย่างไรก็ดี วางงบลงทุนไว้ 30 ล้านบาทสำหรับเปิดร้านไอสตูดิโอระดับพรีเมียม 2 สาขา เพิ่มคอร์เนอร์ในห้างบิ๊กซี 3 สาขา รวมถึงขยายศูนย์บริการอีก 7 แห่ง แบ่งเป็นครบวงจร 2 แห่ง และในร้าน ไอที ซิตี้ อีก 5 สาขา เน้นพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นหลัก

เขายอมรับว่า บริษัทเทียบกับผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ที่ได้สิทธิขายไอโฟน 4 เอสของแอ๊ปเปิ้ลเหมือนกัน เอสพีวีไอยังเป็นรองอยู่ เนื่องจากทั้ง 3 รายมีฐานลูกค้าของตัวเองอยู่ก่อนแล้วเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่า และได้โควต้าสินค้ามากกว่า แต่ร้านไอสตูดิโอมีจุดต่างที่ดึงให้แฟนตัวจริงแอ๊ปเปิ้ลเข้ามาหาได้ เทียบกันแล้วความรู้ ความเชี่ยวชาญของพนักงานที่ให้บริการด้านเทคนิคทำได้ดีกว่า

ปักธงอุปกรณ์เสริมหาทางรอด

ซีอีโอ เอสพีวีไอ เผยว่า แต่ละปีนำเข้าสินค้าแอ๊ปเปิ้ลมาเต็มที่ ครบทุกรูปแบบ ทุกรุ่น ทุกสายผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัว แต่ด้วยการแข่งขันแค่ขายสินค้าหลักๆ นั้นไม่พอ ต้องมีอุปกรณ์เสริมเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดด้วย โดยปกติเมื่อลูกค้าซื้อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง อย่างน้อยเขาจะใช้เครื่องนั้นไปไม่น้อยกว่า 1-2 ปี แต่ช่วงเวลาดังกล่าว เขายังมีความต้องการใช้สินค้าที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คู่กัน

“ที่อยู่รอดมาได้ถึงทุกวันนี้ เพราะสินค้าเหล่านี้ อย่างไรก็ตามตลาดนี้เหมือนแฟชั่น ต้องตามให้ทันกับเทรนด์ ต้องแบ่งทำตลาดแยกตามเซ็กเมนท์และสาขาให้ชัดเจน ดูว่าที่ตั้งร้านนั้นๆ ลูกค้าที่เดินเข้ามาคือกลุ่มใด แล้วทำตลาดให้สอดคล้องตามนั้น”

เขากล่าวด้วยว่า บริษัทจะหลีกเลี่ยงการใช้ราคาเป็นเครื่องมือการตลาด เพราะไม่ยั่งยืน แต่พยายามเน้นกิจกรรมแบบ บีโลว์ เดอะ ไลน์ สร้างความผูกพันระหว่างกัน ด้วยมองว่าลูกค้าไม่ใช่พระราชาอีกต่อไป แต่เป็นคนรักที่ต้องเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ

พร้อมระบุว่า กิจกรรมทางการตลาดที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ คือ การทำโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ ปัจจุบันมีคู่ค้าสถาบันการเงินครบแทบทุกราย การใช้งบการตลาดจะเน้นที่การสร้างกิจกรรมเพิ่มประสบการณ์เพื่อรักษาฐาน ลูกค้าเก่า ทำให้ลูกค้าใหม่มั่นใจ และตัดสินใจมาใช้สินค้าในที่สุด

“สินค้าของแอ๊ปเปิ้ลมีความน่าสนใจในตัวเองอยู่แล้ว ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นคือสร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้พวกเขาเต็มใจเดินเข้ามา หาเรา” นายไตรสรณ์ ให้ความเห็น

ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็ค

เขาเชื่อว่า หากต้องการก้าวไปยืนในจุดที่สูงสำคัญ คือ ต้องมีซอฟต์แวร์ที่เจ๋งในฮาร์ดแวร์ของตัวเอง ถ้ายิ่งเปิดกว้าง หรือต้องทำมากๆ ปัญหาติดขัดยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามมา อย่างแอนดรอยด์มีออกมาตั้งหลายสายพันธุ์ แถมหน้าจอยังมีทั้ง 5นิ้ว 7นิ้ว 8นิ้ว และ 10 นิ้ว

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า มีแบรนด์ไหนบ้างที่มีแอพพลิเคชั่นรองรับมากเท่าสินค้าของแอ๊ปเปิ้ล มองในมุมของนักพัฒนาจะเลือกอะไรระหว่างการพัฒนางานอยู่บน 1-2 แพลตฟอร์มแล้วใช้งานได้เลย กับต้องทำถึง 10 แพลตฟอร์มเพื่อให้เข้ากันได้กับสินค้าจากผู้ผลิตหลากหลายแบรนด์

“ไม่มีผลิตภัณชิ้นไหน ของผู้ผลิตรายใดจะดีเลิศไปเสียทั้งหมด ในโลกนี้ไม่มีของถูกและดี ใครบอกว่าถูกและดีนั่นคือโกหก ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าของใครจะโดนใจสามารถกินตลาดได้มากที่สุด” ผู้บริหารเอสพีวีไอ ให้ความเห็น

นายไตรสรณ์ กล่าวเสริมว่า พฤติกรรมผู้บริโภคไทยไม่ค่อยเกี่ยงเรื่องของราคาหรือฟังชั่นการใช้งาน แต่ยึดติดกับผู้ที่มีอิทธิพลกับตัวเอง รูปลักษณ์ และความรู้สึกที่ได้จากตัวสินค้ามากกว่า
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.