User Online ( 7 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ชำแหละ ต้นทุน-สเปค ‘แท็บเล็ต’ ป.1 ทำได้จริงหรือขายฝัน
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ชำแหละ ต้นทุน-สเปค ‘แท็บเล็ต’ ป.1 ทำได้จริงหรือขายฝัน

หลัง กระทรวงศึกษาธิการเผยเสปคแท็บเล็ต คนที่ได้เห็นถึงกับอึ้ง ทึ่ง ปนประหลาดใจ ด้วยเสปคขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ดูสวนกับงบประมาณต่อเครื่องที่ตั้งไว้ 2,400 บาท ถึงแม้รัฐบาลจะออกตัวว่า แท็บเล็ตราคากับเสปคดังกล่าวของโครงการ One Tablet Pc Per Child มีความเป็นไปได้ โดยผ่านการติดต่อเข้าซื้อโดยตรงกับรัฐบาลจีน หรือรัฐต่อรัฐ แบบ G2G แต่ถึงกระนั้นสังคมก็ยังมีคำถามว่า แท็บเล็ตตามสเปคและราคาที่ว่านี้ จะเกิดขึ้นจริงไหม หรือสุดท้ายจะเป็นนโยบายขายฝันเหมือนเช่นหลายนโยบายในอดีตที่ผ่านมา

รมว.ไอซีที ฟันธง แท็บเล็ตตามสเปค ทำได้
น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ให้ความเห็นถึงกรณีสเปคแท็บเล็ตที่หลายคนมองว่าสวนทางกับราคา ว่าการผลิตแท็บเล็ตให้ได้ตามสเปคในราคาดังกล่าว เป็นไปได้ เนื่องจากเป็นการผลิตเป็นจำนวนมาก จะทำให้ราคาต้นทุนการผลิตถูกลง

"เป็น เรื่องปกติของอุปสงค์-อุปทาน ของชิ้นไหนผลิตเป็นจำนวนน้อย ต้นทุนราคาผลิตย่อมสูง ถ้าผลิตจำนวนมาก ต้นทุนก็ลดต่ำลงมา เพราะฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบการจัดหาแท็บเล็ตในสเปคที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 8 แสนกว่าเครื่อง ราคาก็จะถูกลงมากว่าราคาปกติพอสมควร ฉะนั้น การจัดซื้อแท็บเล็ตในราคาและสเปคที่กำหนดไว้เป็นไปได้

"หรือ ถ้ามีการปรับ-ลดสเปค ยังไงก็จะต้องไม่ต่ำกว่าคุณสมบัติต่ำสุดที่ได้ตั้งไว้ใน TOR เพราะไม่เช่นนั้น แท็บเล็ตจะไม่ตอบโจทย์เป้าหมายการใช้งาน"

ต่อ ข้อถามถึงกรณีที่คนมองว่า แท็บเล็ตที่ผลิตตามสเปคในราคาที่กำหนด อุปกรณ์ในการใช้ผลิตอาจไม่ได้มาตรฐาน รัฐมนตรีไอซีทีตอบว่า อุปกรณ์แต่ละตัวที่เลือกต้องได้รับรองมาตรฐานจากกระทรวงอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่รัฐจะมีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

เอกชนมอง ‘ราคา’ สวนทาง ‘สเปค’ ไม่คุ้มลงทุน
แหล่ง ข่าวจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการไอที กล่าวว่า สเปคของแท็บเล็ตที่รัฐบาลประกาศออกมานั้น ในมุมมองของเอกชน เราเห็นว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากรัฐบาลตั้งราคาไว้ต่ำมาก ขณะที่สเปคกำหนดมาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี สเปคดังกล่าว แม้เอกชนจะมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะลงทุน แต่สำหรับการเจรจาแบบ G2G เชื่อว่าทำได้ เพราะเป็นการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐ

“สเปค ที่ระบุมาในข่าว เป็นสเปคสำหรับ G2G เนื่องจากระบุไว้สูง และตั้งราคาต้นทุนต่ำ ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะทำได้ เพราะเป็นการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันเอง หากถามถึงมุมมองในฐานะผู้ประกอบการเอกชนแล้ว เรามองว่าสเปคนี้กับราคา ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ดี เราเองก็ยังสนใจต่อนโยบายดังกล่าวนี้อยู่ แต่ข้อมูลในขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้” แหล่งข่าวกล่าว

คนแวดวงไอทีมอง สเปคดี ราคาต่ำ อาจเป็นไปได้
ขณะ ที่ผู้สังเกตการณ์ ต่อกรณีดังกล่าว แสดงความเห็นว่า สเปคที่รัฐบาลกำหนดมานั้น มีความเหมาะสม แต่ต้องพิจารณาจากหลายมิติ ขณะที่ราคา เชื่อว่าทำได้ถ้าสั่งปริมาณมาก

“การ จะพิจารณาว่าสเปคดังกล่าว เหมาะสมหรือไม่นั้น เราต้องพิจารณาจากหลายมิติ จะไปมองที่แท็บเล็ตอย่างเดียว หรือมองที่เด็กอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองเป็นองค์รวม หากดูจากสเปคที่ระบุมาว่า เครื่องจะต้องใช้กระจกกันรอย มีการติดฟิล์มกันรอยหน้าและหลัง เหล่านี้ เมื่อเรามองในมิติของการให้เด็กใช้งานเข้ามาประกอบด้วย จะเห็นว่า มีความเหมาะสม เพราะเครื่องให้เด็กใช้ ต้องมีความทนทาน และอยู่ได้นาน เพราะเด็กก็คือเด็ก ต่อให้ดูแลรักษาดีแค่ไหน ก็ต้องมีผิดพลาดได้บ้าง ขณะที่สเปคในส่วนจอภาพต่างๆ นั้น หากทำมาดี ปัญหาเรื่องสายตาก็จะลดลง”

เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ราคาที่เราเห็นว่าตั้งมา 2,400 บาทต่อเครื่อง แน่นอนว่าเป็นราคาที่ต่ำ แต่ถ้าเป็นการสั่งทีละมากๆ และเป็นการเจรจาแบบรัฐต่อรัฐ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

“การ ที่เห็นสเปคแล้วกังวลว่าเด็กจะเอาไปใช้เล่นเกม มากกว่าจะใช้ในการศึกษา เรื่องนี้ไม่ผิดที่จะกังวล เพราะสเปคที่ระบุมา รองรับการใช้งานด้านความบันเทิงได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ถ้ามองในด้านความคุ้มค่าของเทคโนโลยี และความสะดวกในการใช้งาน ให้เครื่องสามารถรองรับคอนเทนต์ดีๆ ได้ ก็เป็นเรื่องที่สมควร กระนั้น ในส่วนของการนำไปใช้ผิดวิธี ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง รวมถึงครูอาจารย์ที่จะเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย” ผู้สังเกตการณ์ กล่าวสรุป

กูรูไอทีห่วงคุณภาพแท็บเล็ต-ล้าสมัยก่อน 3 ปี
พงศ์ สุข หิรัญพฤกษ์ พิธีกรและผู้ผลิตรายการแบไต๋ไฮเทค ให้ความเห็นต่อราคาและสเปคแท็บเล็ตที่รัฐบาลจัดทำว่า เมื่อดูจากสเปค หน้าจอ 7 นิ้ว ซีพียู Dual Core 1 GHz หน่วยความจำ 16 GB เมมโมรี่ 512 MB ที่ผลิตในราคา 2,400 บาทนั้น ถือเป็นราคาที่ค่อนข้างมหัศจรรย์ และแท็บเล็ตที่ออกมา อาจไม่ใช่แท็บเล็ตที่มีคุณภาพดีที่สุด

"ผม รู้สึกเซอร์ไพรส์และชื่นชมที่รัฐบาลสามารถทำสเปคเหล่านี้ออกมาได้ ในราคา 2,400 บาท แต่ในราคาเท่านี้ เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินจำนวนแค่นี้เราไม่สามารถที่จะได้แท็บเล็ตดีที่สุดในสเปคเท่านี้ได้

"ส่วน บางคนที่สงสัยว่า แท็บเล็ตเมดอินไชน่าจะน่าเชื่อถือหรือเปล่า ผมก็ต้องบอกตามความจริงของโลกว่า ทุกวันนี้สินค้าประเภทสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตยี่ห้อดังๆ ก็ผลิตในจีนทั้งนั้น เพียงแต่มันถูกดีไซน์สถาปัตยกรรมมาจากต่างประเทศเท่านั้นเอง ดังนั้น งานนี้ผมคิดว่าเมดอินไชน่าไม่ขี้เหร่ ไม่ใช่จุดด้อย แต่วัสดุ พื้นผิว จับแล้วจะก๊องแก๊งหรือไม่ จอที่ว่า 7 นิ้ว สีครบหรือเปล่า สีจะสดขนาดไหน อันนี้ก็คงเป็นสิ่งที่ต้องลุ้นกันในวันที่แท็บเล็ตออกมา"
พงศ์ สุข บอกว่า นอกจากคุณภาพของแท็บเล็ต เรื่องอายุการใช้งานที่รัฐบาลบอกว่าจะใช้ถึง 3 ปี แท้จริงแล้ว อาจไม่ถึง เพราะสเปคดังกล่าวจะล้าสมัยไปเสียก่อน

"ผม รู้สึกแอบเป็นห่วงว่าอายุการใช้งานอาจไม่ถึง 3 ปี อย่างที่รัฐบาลพูดไว้ เพราะถ้ามองในมุมสินค้าเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ เราทุกคนต่างถูกบีบบังคับด้วยกระแสเทคโนโลยีให้เปลี่ยนของใหม่เรื่อยๆ เช่น สมาร์ทโฟน เราก็ถูกกระแสเทคโนโลยีบีบให้เปลี่ยน โดยเฉลี่ยทุกๆ ปีครึ่งอยู่แล้ว หรือบางคนเปลี่ยนเร็วกว่านั้นก็มี ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเป็นห่วงว่า ที่รัฐบาลบอกอายุแท็บเล็ตจะใช้ได้ 3 ปี ในความเป็นจริงมันอาจไม่ถึง เพราะในเวลานั้น มันอาจล้าสมัยไปเสียแล้ว"


ชี้แท็บเล็ต = ใบเบิกทางชาวบ้านสนใจไอที
แม้ แท็บเล็ตที่ได้อาจไม่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ แต่ในมุมหนึ่ง พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ มองว่า อย่างน้อยที่สุด แท็บเล็ตดังกล่าวน่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้คนเก้าแสนครอบครัวที่ลูกได้แท็บเล็ต หันมาสนใจไอทีมากขึ้น

"มอง ในเชิงบวก แท็บเล็ตก็น่าจะเป็นอุปกรณ์กระตุ้นความสนใจการอยากใช้ไอที ให้กับ 9 แสนครอบครัวที่จะได้มันไป โดยผ่านเด็ก ป.1 ในบ้าน เพราะผมเชื่อว่าเครื่องนี้ เด็กคงจะไม่ได้จับแค่คนเดียว พ่อ แม่ หรือคนในบ้านก็ต้องลองเล่น เมื่อคนในครอบครัวลองเล่นหมด มันก็จะเกิดการกระตุ้นให้คนเหล่านี้รู้ว่าแท็บเล็ตใช้ยังไง ดียังไง แล้วเขาอาจจะสนใจอยากซื้อแท็บเล็ตที่ดีกว่านี้มาใช้ในอนาคต

"ฉะนั้น มหกรรมการแจกแท็บเล็ตครั้งนี้ ผมจึงมองในมุมที่ดีว่า มันก็คือการแถมสินค้าตัวอย่าง ไปยัง 9 แสนครอบครัว ส่วนจะใช้งานได้เวิร์คหรือไม่ ผมว่าอยู่ที่องค์ประกอบอื่นด้วย ไม่ว่าจะเรื่องของคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในเรื่องระบบเชื่อมโยงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากกระทรวง ศึกษาการ แล้วกระจายผ่านออนไลน์ไปยังเครื่องต่างๆ ได้ในอนาคต ระบบ Wi-Fi ที่เสถียรพอ และความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ไปแต่ละจุด" พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ กล่าวทิ้งท้าย
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.