User Online ( 8 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ไอเอสอีพีระบุคนไทยดูทีวีดิจิตอล 40 ล้าน
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ไอเอสอีพีระบุคนไทยดูทีวีดิจิตอล 40 ล้าน

“ภูษณ ปรีย์มาโนช” ประธานไอเอสอีพี ฟันธงทีวีดิจิตอลกระตุ้นคนดูแตะ 40 ล้านเครื่อง ส่งผลค่าโฆษณาพุ่งตาม 2 เท่า ทางกสทช.รับปากกำกับดูแลเต็มที่ ตั้งเป้าเปลี่ยนระบบสมบูรณ์ไม่เกิน 10 ปี เตรียมประชาพิจารณ์ร่างแผนวิทยุ-โทรทัศน์วันวาเลนไทน์

นายภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ หรือไอเอสอีพี กล่าวว่า ทางสถาบันฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดสัมมนา “ทิศทางและโอกาสของธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ยุคใหม่ ภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือพ.ร.บ.กสทช.อย่างเป็นทางการ เมื่อใดที่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของธุรกิจวิทยุโทรทัศน์จากระบบเดิมที่ ใช้เป็นระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอลแทนนั้น จะทำให้ธุรกิจดังกล่าวเติบโตอย่างก้าวกระโดด

“มีการประเมินว่า เมื่อไรที่ระบบการออกอากาศโทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นระบบดิจิตอล จะมีผู้ใช้บริการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านเครื่องในปัจจุบัน เป็น 40 ล้านเครื่องในอนาคตอันใกล้ และค่าโฆษณาต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว รวมไปถึงจะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีกับผู้บริโภค”

ขณะที่การพัฒนาธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์และโทรคมนาคมที่กำลังจะมาถึงในเร็วๆ นี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นจะต้องให้หน่วยงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.เข้ามากำกับดูแล เพื่อไม่ให้เกิดข้อกังขา และข้อพิพาทขึ้นในสังคมเหมือนเช่นที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ให้เท่าเทียมกัน

ด้านนางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากพัฒนาธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์เปลี่ยนผ่านจากการส่งสัญญาณมาเป็นระบบ ดิจิตอล และมีกสทช.ขึ้นมากำกับดูแล เชื่อว่าจะส่งผลดีให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

แต่ทั้งนี้ รัฐบาลเองจะต้องเข้ามาสนับสนุนในด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ผู้ประกอบการใน การนำเข้าอุปกรณ์ดิจิตอลที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากจะเป็นการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของประเทศที่ใช้มากนาน เพราะระบบดิจิตอลถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ดังนั้นผู้ประกอบเกือบทั้งหมดต่างต้อง นำเข้าอุปกรณ์ดังกล่าวจากต่างประเทศเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนจากอะนาล็อกไปสู่ ระบบดิจิตอลแทน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านก็ว่าได้

ขณะเดียวกัน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธาน กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า กสทช. ตั้งเป้าจะเปลี่ยนการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกในปัจจุบันให้ เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอลแบบสมบูรณ์ให้ได้ภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ และรับปากว่าจะบริหารคลื่นความถี่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสคิดแต่ให้ประเทศชาติเกิดประโยชน์มากที่สุด

ตามแผนงานที่ กสทช.วางไว้ คือ จะจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและผลักดันให้เริ่มส่งสัญญาณได้จริงภายใน ปีนี้ หากประเทศไทยสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลได้ การส่งสัญญาณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลโดยตรงให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น และประชาชนก็มีทางเลือกในการรับชมข้อมูลได้มากขึ้นเช่นเดียวกันจากเดิมที่ ปัจจุบันดูเฉพาะฟรีทีวี 6 ช่อง ก็จะสามารถเลือกดูได้มากกว่า 100 ช่อง

อย่างไรก็ดี ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบอะนาล็อกมาสู่ระบบดิจิตอลนั้นในช่วง 3-4 ปีแรก ประชาชนอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิตอล หรือที่เรียกว่า เซตท็อปบล็อกที่มีราคาประมาณ 500-1,000 บาทเพื่อใช้ในรับสัญญาณดิจิตอลในช่วงแรก ก่อนที่ผู้ผลิตโทรทัศน์จะปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ดังกล่าวใส่เข้าไปแทนระบบเดิม เพื่อไม่ต้องใช้กล่องรับสัญญาณอีกต่อไป

ปัจจุบัน ตลาดธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย ฟรีทีวี 6 สถานี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 200 สถานี เคเบิ้ลท้องถิ่น 500 สถานี เคเบิ้ลท้องถิ่นระดับชาติ 1 สถานี วิทยุ 600 สถานี และวิทยุชุมชน 6,000 สถานี โดยมีมูลค่าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนรวมประมาณ 1.5 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ในวันนี้ (10 ก.พ.) กสทช.จะเปิดประชาพิจารณ์พร้อมกันทั่วประเทศทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ใน 3 แผนแม่บท ประกอบด้วยแผนแม่บทคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำคัญในการดำเนินงานของ กสทช. ตาม พ.ร.บ.กสทช. ระหว่างเวลา 09.30-17.00 น. โดยจะรับฟังเฉพาะร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และร่างแผนแม่บทกิจการ โทรคมนาคมก่อน ส่วนร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะจัดขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ต่อไป
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.