User Online ( 11 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » บล็อกจ๋าลาก่อน"ไมโคร มีเดีย" มาแล้ว
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

บล็อกจ๋าลาก่อน"ไมโคร มีเดีย" มาแล้ว

โลกเปลี่ยนไป แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่โลกของการสื่อสารในแวดวงการตลาดจะไม่เปลี่ยน แปลงตาม โดยผลสำรวจฉบับล่าสุดจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง

"แมสซาชูเซตส์" ชี้ให้เห็นว่าบริษัทเอกชนเติบโตเร็วที่สุด 500 อันดับแรกในสหรัฐ เริ่มบอกลาการสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยการทำบล็อกแบบเดิมๆ และหันไปหาช่องทางใหม่ๆ อย่าง "ไมโครมีเดีย" เช่น เฟซบุ๊ค, ทวิตเตอร์ และลิงค์อินแทน

หมดยุคบล็อกรุ่งเรือง

การสำรวจดังกล่าวเริ่ม เก็บข้อมูลการใช้โซเชียล มีเดียขององค์กรที่เติบโตเร็วที่สุด 500 อันดับแรกของสหรัฐเป็นเวลา 5 ปี โดยเป็นบริษัทที่กระจายอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ 24 ประเภทใน 36 รัฐของอเมริกา และแต่ละแห่งมีพนักงานตั้งแต่ 1-50 คน มีรายได้ต่อปีราว 3-10 ล้านดอลลาร์

ผล ปรากฏว่า การสื่อสารด้วย "บล็อก" เริ่มมีสถิติลดลงในกลุ่มบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศมหาอำนาจแห่งนี้ โดยปี 2553 อัตราการลดลงของบล็อกเพิ่มเป็น 50% จาก 45% เมื่อปี 2552 และ 39% ปี 2551

ขณะที่ผลสำรวจปี 2554 พบว่า บล็อกขององค์กรเริ่มลดจำนวนต่ำกว่าที่มีในปี 2551 ซึ่งอัตราการลดลงดังกล่าว "กำลังสะท้อนให้เห็นแนวโน้มภาคธุรกิจอื่นๆ ด้วยเช่นกันว่าการสื่อสารทางการตลาดด้วยบล็อกเริ่มถึงจุดอิ่มตัว และกำลังเปลี่ยนแปลงไปหารูปแบบอื่นๆ แทน"

โซเชียลฯ มาแรง

ดังนั้นเป็นคำถามต่อไปว่า แล้วองค์กรต่างๆ ควรจะเลือกวิธีการสื่อสารกับลูกค้าของตัวเองอย่างไรในยุคนี้ ซึ่งดูเหมือนว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลครั้งนี้จะเทคะแนนให้ "โซเชียล มีเดีย" ขณะที่ 88% มองว่า โซเชียล มีเดียเป็นเครื่องมือที่สร้างทราฟฟิกให้แก่เว็บที่สำคัญที่สุด

นอกจากนี้ 73% ของผู้ถูกสำรวจยังเชื่อว่า โซเชียล มีเดียเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการดูแลลูกค้าของบริษัท

แนว โน้มดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการสื่อสารและเครื่องมือใหม่ๆ ขององค์กรประกอบด้วยโซเชียล มีเดีย เช่น เฟซบุ๊ค, ลิงค์อิน, ทวิตเตอร์, ยูทูบ, การส่งข้อความเพื่อให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนมือถือ และโฟร์สแควร์ สวนทางกับการสื่อสารด้วยบล็อก, เว็บบอร์ด และมาย สเปซ ที่มีอัตราการใช้งานต่ำลงเรื่อยๆ

โดย "เฟซบุ๊ค" เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่องค์กรนิยมใช้สูงถึง 74% ตามมาด้วย "ลิงค์อิน" 73% และ "ทวิตเตอร์" 64%

พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน

ผลสำรวจดังกล่าวยังอาจ ส่งสัญญาณเป็นนัยๆ ว่า โลกเดินทางมาถึงยุคที่ความนิยมใช้บล็อกด้านเทคโนโลยีเริ่มลดความสำคัญลง โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ความต้องการของผู้รับสารเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนใหญ่พึงพอใจกับข้อมูลที่สั้น กระชับ เพื่อลดปริมาณคอนเทนท์ที่มีอยู่มหาศาลและตรงกับความสนใจที่แท้จริง

นอก จากนี้ผู้บริหารที่ให้ข้อมูลครั้งนี้จำนวนไม่น้อยเชื่อว่า หนึ่งในปัจจัยที่สร้างความน่าสนใจให้แก่โซเชียล มีเดียคือ เวลาที่ใช้สร้างคอนเทนท์ลดน้อยลง ซึ่งรวมถึงการใช้เวลาอัพเดท หรือโพสต์ข้อมูลบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน

โดยเป้าหมายส่วนใหญ่ของ การใช้โซเชียล มีเดียขององค์กรต่างๆ ก็เพื่อการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์, การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และการสร้างความรับรู้ในแบรนด์ ซึ่งบริษัทจำนวนไม่น้อยอีกเช่นกันที่มักจะวัดประสิทธิภาพของการใช้โซเชียล มีเดียจากจำนวนเพื่อน, สมาชิกที่ติดตาม (followers), กระแสความนิยม และการแสดงความคิดเห็นต่างๆ (คอมเมนท์บนเฟซบุ๊ค)

คุณลักษณะของสื่อ ใหม่ดังกล่าวช่วยจัดการกับข้อจำกัดของการสื่อสารด้วยเครื่องมือแบบเดิมๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อองค์กรโพสต์ข้อมูลผ่านทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ค หรือกูเกิล พลัส จะได้รับฟีดแบ็คผ่านคอมเมนท์ต่างๆ ได้ทันที ต่างกับการทำบล็อกแบบเดิมที่อาจติดปัญหาบางอย่างที่การคอมเมนท์หรือโต้ตอบ กันระหว่างอาจไม่รวดเร็วเท่ากับไมโคร มีเดีย แบบใหม่ๆ

มุมต่าง "ไมโคร มีเดีย"

อย่างไรก็ตาม แม้ผลสำรวจดังกล่าวจะชี้ให้เห็นว่า เครื่องมือการตลาดใหม่บนโลกไซเบอร์กำลังเข้ามาแทนที่เครื่องมือเดิมๆ ที่มีอยู่ แต่สำหรับมุมมองของ "แฟรงค์ รีด" จากมาร์เก็ตติ้ง พิลกริม เชื่อว่า "ทวิตเตอร์" และ "เฟซบุ๊ค" อาจไม่ใช้เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในระดับที่ลึกซึ้งได้อย่างแท้จริง แต่เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ "เรียกความสนใจ" เท่านั้น

โดยรีดอธิบายว่า ไมโคร มีเดียเหล่า นี้อาจเป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ได้ดีสำหรับการเรียกความสนใจ, ละลายพฤติกรรม และดูอารมณ์ของลูกค้าเสมือนกับเป็นศูนย์บริการลูกค้าอีกแห่ง

แต่ การทำบล็อกก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรเพื่อให้ข้อมูลในระดับที่ลึกลงไป อีกขั้น และให้ข้อมูลได้ดีกว่าในแบบที่ไมโคร มีเดียทำไม่ได้
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.