User Online ( 12 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ธุรกิจต้องเตรียมพร้อม ระบบไอทีรับมือภัยพิบัติ
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ธุรกิจต้องเตรียมพร้อม ระบบไอทีรับมือภัยพิบัติ

นายยศ กิมสวัสดิ์แนะ การฟื้นฟูธุรกิจหลังวิกฤตน้ำท่วม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขปัญหาและปรับตัวอย่างรวดเร็ว

หลายๆ กิจการจำเป็นต้องระงับลงชั่วคราวจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมปลายปี 2554 ด้วยสาเหตุสถานประกอบการถูกน้ำท่วม ปัญหา โลจิสติก ไฟฟ้าดับ รวมถึงระบบเครือข่ายหยุดทำงาน ส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องใช้เสียหาย การสื่อสารและการรับส่งข้อมูลหยุดชะงัก เกิดการสูญหายของข้อมูลสำคัญของบริษัท

เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อธุรกิจทั้งด้าน ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ภาพลักษณ์องค์กร และความพึงพอใจของลูกค้า

นายยศ กิมสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การฟื้นฟูธุรกิจหลังวิกฤตน้ำท่วม องค์กรและบริษัทต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขปัญหาและปรับตัวอย่างรวดเร็ว

ที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ธุรกิจต้อง "Rethink" หลังน้ำท่วมต้องคิดใหม่ เพื่อรีบกอบกู้กับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น Regain ฟื้นฟูระบบไอที แก้วิกฤตทางธุรกิจหลังน้ำท่วม Rebuild สร้างระบบไอที เพื่อเตรียมพร้อมรับมืออนาคต

ไอบีเอ็มเสนอแนะการวางแผน 3 ระดับ คือ 1. Immediate (1-3 สัปดาห์) สำรวจตรวจสอบความเสียหาย เพื่อแก้ไขปัญหาทันที 2. Medium term (4-12 สัปดาห์) ซ่อมแซมแก้ไข จัดหาอุปกรณ์ใหม่ทดแทน 3. Strategic in long term (12 สัปดาห์ขึ้นไป) วางแผนรับมือกับวิกฤตการณ์ระยะยาว

ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ

พร้อมมีข้อแนะนำการกอบกู้วิกฤติการณ์และการฟื้นฟูระบบไอทีเบื้องต้น แม้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อาจไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยตรง แต่อุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมเกิน 48 ชั่วโมง จะเสี่ยงต่อความชื้นสูง ตลอดจนเชื้อรา หรือสารเคมีต่างๆ ที่มากับน้ำ บางครั้งอาจมองไม่เห็นความเสียหายจากภายนอก และการตรวจสอบแต่ละครั้งอาจต้องทำถึงระดับระบบปฏิบัติการ (Operating System) เพื่อไม่ทำให้ข้อมูลเกิดความเสียหาย ซึ่งการตรวจสภาพระบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ควรดำเนินงานโดยผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เป็นอย่างดี

ดาต้าเซ็นเตอร์ น้ำท่วมอาจทำให้ห้องคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้ชั่วคราว เนื่องจากต้องรอการปรับปรุงหรือซ่อมบำรุง ฝ่ายไอทีต้องช่วยฟื้นฟูธุรกิจขององค์กรให้กลับมาดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว โดยการเช่าศูนย์บริการดาต้าเซ็นเตอร์ชั่วคราวที่เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เพื่อให้ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เซิร์ฟเวอร์จัดเก็บข้อมูล เครือข่ายซอฟต์แวร์และบริการที่จำเป็นขององค์กร

ระบบเครือข่าย ควรตรวจสอบให้ทำงานได้ตามปกติ อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่เสี่ยงจำเป็นต้องย้ายไปยังสถานที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบร่องรอยความเสียหายทางกายภาพ และ error messages และไม่ควรใช้อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ถูกน้ำท่วมโดยตรง

แนะวางแผนระยะยาว

สิ่งที่สำคัญคือ การวางแผนระยะยาว เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดซ้ำในอนาคต ธุรกิจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับมือกับภัยพิบัติ จากเคยใช้วิธี 'แก้ปัญหาเฉพาะหน้า' ไปสู่ 'การคาดการณ์และปรับเปลี่ยน'

ปัจจุบันผู้คนและองค์กรพึ่งพาเทคโนโลยีมากกว่าอดีต จึงจำเป็นเร่งด่วนต้องปกป้องข้อมูลสำคัญๆ คุ้มครองสินทรัพย์ทางธุรกิจที่มีค่า รวมถึงการกู้คืนระบบไอทีและดูแลรักษาให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องเมื่อ เกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

ประกอบด้วย การดูแลความต่อเนื่องของระบบธุรกิจและการกู้คืนระบบไอที (Business Resiliency and Disaster Recovery) ช่วยตรวจสอบว่าธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือความเสี่ยงมากเพียงใด รวมถึงช่วยประเมินวิเคราะห์ และวางแผนจัดการความเสี่ยงของระบบไอที

ขอบเขตการประเมินระบบเบื้องต้นประกอบด้วย การตรวจวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด การประเมินศักยภาพในการกู้คืนระบบขององค์กร (Disaster Recovery Capability) การประเมินความพร้อมในการวางแผนสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan - BCP) และการวางแผนการกู้คืนระบบ (Disaster Recovery Plan - DRP) ทั้งในเชิงกระบวนการและการปฎิบัติจริง

ทั้งนี้ ไอบีเอ็มมีบริการ พร้อมความเชี่ยวชาญกว่า 40 ปีด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพื่อช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกปกป้องข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าบริหารความเสี่ยง และอื่นๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.