User Online ( 12 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เทรนด์ตลาดปี55 สื่อ"ดิจิทัล"แรง...ไทยแซงยุโรป
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เทรนด์ตลาดปี55 สื่อ"ดิจิทัล"แรง...ไทยแซงยุโรป

นาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า "สื่อดิจิทัล" เป็นพระเอกที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ในการเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์

จากผลวิจัยล่าสุดของ บริษัทวิจัยนานาชาติ แกรนต์ ธอร์นตัน ระบุว่า 68% ขององค์กรธุรกิจไทยมีการใช้โซเชียลมีเดียในการทำตลาด แซงหน้ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 35% ทว่าการทำตลาดดิจิทัลของไทยนั้นสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคหรือไม่

วฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม แมคแคน เวิลด์ กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยเทรนด์การตลาดในปี 2555 นี้ว่า จากพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่เปลี่ยนแปลงไปมากในรอบปี โดยเฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็น "จุดเปลี่ยนสำคัญ" ของพฤติกรรมผู้บริโภค ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำการตลาด กอปรกับนวัตกรรมการใช้สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก่อตัวจากวัฒนธรรมการใช้สื่อที่หลากหลายขึ้นจากทั้งสื่อออนไลน์และออ ฟไลน์ ทำให้ "สื่อดิจิทัล" และเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการตลาดมากขึ้น

แมคแคนได้จำแนก "เมกะเทรนด์" หรือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคของโลกในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. ย้อนดูตัวเอง (Reset) กลับมาใส่ใจตนเองและสังคมมากขึ้น ไม่เพียงสินค้าปัจจัย 4 เท่านั้น ยังรวมถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีและยวดยานพาหนะ 2. ความเป็นสังคมเมือง (Urbanite) ที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการใช้ชีวิต 3. ความเป็นดิจิทัล (Digitize) ข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเชื่อมโยงและเกิดการแบ่งปันได้ ไม่เพียงบนสื่อออนไลน์เท่านั้น 4. นวัตกรรม (Innovation) เนื่องจากผู้บริโภคต้องการสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา ต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ที่สร้างด้วยตัวเอง โดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย และ 5. แรงบันดาลใจ (Inspire) ซึ่งจะเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในปี 2555 เนื่องจากประชาชนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้องการแรงบันดาลใจในการสร้างพลังบวกให้แก่ชีวิต และหันมาให้ความสำคัญในการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ทั้งนี้ เทรนด์การตลาดที่สร้าง "แรงบันดาลใจ" หรือพลังบวกแก่ผู้บริโภคสามารถแบ่งออกได้ 12 ข้อ ใน 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค 1. ผู้บริโภคจะหันมาใส่ใจถึงความเป็นมาและเรื่องราวของแบรนด์และสินค้ามากขึ้น ซึ่งต่อไปสินค้าจะเป็นหัวใจหลักประการหนึ่งในการรับรู้ทั้งภาพลักษณ์ด้านบวก หรือลบ 2. "การสื่อสาร" จะพัฒนาสู่ความเรียบง่าย โดยรวมถึงการออกแบบสินค้าและบริการที่จะเน้นความเรียบง่ายในการเข้าถึง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และ 3. ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจในรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนมากขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือการสื่อสารจะมีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เชื่อมโยงไปถึงไลฟ์สไตล์ในคอมมูนิตี้ที่อาศัยอยู่

"การแบ่งกลุ่มเป้าหมาย ไม่สามารถใช้แบบเก่าที่อาศัยเกณฑ์อายุ เพศ ในการจำแนกกลุ่มเป้าหมายได้อีกต่อไป แต่ในยุคนี้นักการตลาดจะต้องการแบ่งกลุ่มเป้าหมายตาม 'ความสนใจ' ของผู้บริโภค เพื่อให้การสื่อสารการตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด" วฤตดา กล่าว

กลุ่มที่สอง การใช้สื่อ 4. สื่ออินเตอร์แอคทีฟ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวกลางในการทำการตลาดรูปแบบใหม่ในโลกนิวมีเดีย ช่วยพัฒนาประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ในวิธีสร้างสรรค์ใหม่ๆ 5. การใช้สื่อจะมีการผสานแพลตฟอร์มกัน โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลจะ เป็นพระเอกหลักในการทำการตลาด จากจุดนี้เองที่ทำให้วัฒนธรรมการใช้สื่อของผู้บริโภค จะนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคอนเทนท์ต่อไป 6. แบรนด์จะมีการนำแบรนด์แอมบาสเดอร์มาใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภคบนดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชื่นชอบการเข้าถึงความเป็นตัวตน ทัศนคติและการแสดงออกในระดับบุคคลมากกว่ารูปแบบการค้า

กลุ่มที่สาม สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยสื่อใหม่ 7. ปี 2555 เป็นวัฒนธรรมของการเข้าถึงข้อมูลและกรองข้อมูลให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ ตรงใจ เข้าถึงและสามารถบอกต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น 8. สร้างประสบการณ์การตลาดที่ผู้บริโภคจะสามารถสัมผัสได้จริง มีลูกเล่นทางประสาทสัมผัส ผ่านเทคโนโลยีและแสงสีเสียงใหม่ๆ 9. สร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการออกแบบสินค้า หรือที่เรียกว่า Co-Creatiion

กลุ่มที่สี่ การสร้างสรรค์แคมเปญที่มุ่งเน้นพลังบวกแก่สังคม 10. โซเชียลมีเดียจะมีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยแบรนด์จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างคอมมูนิตี้และสร้างคอนเทนท์รูปแบบ ใหม่ 11. แบรนด์จะหันมาเป็นตัวกลางให้ผู้บริโภคได้มามีส่วนร่วมในการทำความดีมากขึ้น เพิ่มพลังบวกให้สังคมพัฒนาก้าวไปด้วยกัน และ 12. ปัจจัยใหม่ในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะเล็งเห็นถึงผลกระทบในการซื้อ สินค้าที่จะก่อให้เกิดแรงบวกในด้านต่างๆ ของสังคม ซึ่งเป็นช่องทางในการทำความดีง่ายๆ พร้อมกับแบรนด์สินค้า
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.