User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » วงการไอซีที "ตื่น" รับเปิดเออีซีหวังรัฐชัดเจนกม.-กติกา
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

วงการไอซีที "ตื่น" รับเปิดเออีซีหวังรัฐชัดเจนกม.-กติกา

ผู้ประกอบการ-สมาคม ไอซีที เผยเออีซี 2015 กดดันไอซีทีไทยเร่งปรับตัว หวังรัฐช่วยอุดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ชี้ที่ผ่านมาขาดการบูรณาการร่วม

ผู้ประกอบการ-สมาคมไอซีที เผยเออีซี 2015 กดดันไอซีทีไทยเร่งปรับตัว หวังรัฐช่วยอุดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ชี้ที่ผ่านมาขาดการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงาน ส่งผลทิศทางนโยบายไม่ชัดเจน กสอ.แนะหาเจ้าภาพกลางกระจายความรับผิดชอบ ระบุซอฟต์แวร์ไทยยังขาด "แบรนด์เนม" ไปสู้ต่างชาติ ส.ซอฟต์แวร์เพื่อการส่งออกแนะภาครัฐคลายกฏ ดึงดูดต่างชาติลงทุน ด้านส.โทรคมจี้ กสทช.ต้องเร่งวางกติกาแข่งขันโทรคมให้ชัด ทบทวนกฏหมายใหม่รับบรรยากาศการแข่งขันเสรี

นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน อาเซียน 10 ประเทศ มีประชากรรวมกัน 580 ล้านคน ถือเป็นทั้งลูกค้าและคู่แข่ง แรงงานฝีมือจะเคลื่อนย้ายอย่างเสรี มีโอกาสที่โปรแกรมเมอร์ต่างชาติจะทะลักเข้าไทย มีโอกาสที่ซอฟต์แวร์เฮาส์ไทยจะโดนต่างชาติเข้าร่วมทุน โดยไทยมีจุดอ่อนขาด "แบรนด์เนม" ที่จะนำไปสู่การขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้

ทั้ง นี้ การจะแข่งขันได้ต้องลดต้นทุน จัดการซัพพลายเชนให้ได้ ส่วนโอกาสของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนั้นพอมี ถ้าเตรียมพร้อมดีๆ จะแข่งกับลาว กัมพูชา และเวียดนามได้ อีกทั้งอนาคตข้างหน้าที่มีอาเซียน +3 รวมจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นเข้ามา เพราะเห็นศักยภาพของตลาดขนาดใหญ่ ขณะนี้ จีนได้ให้ทุนแก่พม่าแล้วเคลื่อนย้ายคนไปทำงานในพม่าแล้ว 1 ล้านคน เมื่อถึงปี 2558 ก็จะส่งงานของจีนในพม่าออกขาย

"ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม ทุกกรมและกระทรวงของไทยมีเรื่องเออีซีกัน หมด แต่ไม่บูรณาการกัน ประเทศไทยมีจุดแข็งเรื่องพืชผลการเกษตร ปี 2558จะแข็งแรง แข่งขันและอยู่รอดได้อย่างไร ต้องนำไอซีทีมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง หากมองปัจจุบันทั้งลาว กัมพูชา และพม่า ล้วนพูดภาษาไทยได้ แต่ไทยพูดภาษาเขาไม่ได้ พอไปถึงชั้นลูกหลานเขาทำธุรกิจก็จะได้เปรียบเรา"

แนะเอสเอ็มอีใช้ไอทีเพิ่มศักยภาพ
ขณะ ที่ ปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจใหม่จะเผชิญความต้องการลูกค้าที่เพิ่มขึ้น กระบวนการผลิตต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทางออกของปัญหาอยู่ที่ภูมิปัญญา ความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี หากเป้าหมายของเอสเอ็มอีคือ กำไรสูง ต้นทุนผลิตต่ำ ครองส่วนแบ่งตลาดด้วยยอดขายสูง

ผลกระทบจากเออีซีใน อุตสาหกรรมไอซีทีฟากของเอสเอ็มอี คือ ผู้ขายจะมียอดขายสูงขึ้น จากการที่เอสเอ็มอีต้องนำไอซีที มาเป็นเครื่องมือเพิ่มผลิตภาพ มีโอกาสเลือกใช้ไอซีที และการให้บริการที่หลากหลาย พร้อมได้รับข้อเสนอด้านราคาที่น่าสนใจ

ภาครัฐ จะมีแผนงาน และงบประมาณสนับสนุนเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ใช้ระบบไอซีทีเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถการ แข่งขัน ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมไอซีทีของไทยโตเพิ่ม และให้ความสำคัญ ต่อการนำไอซีทีมาช่วยด้านซัพพลายเชน แมเนจเมนต์มากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุนเอสเอ็มอีได้ เช่น การรวมตัวกันซื้อวัตถุดิบ หรือการส่งวัตถุดิบ ลดต้นทุนการเก็บสต๊อกสินค้า เป็นต้น แต่ปัจจุบันปัญหาอยู่ที่ไม่มีข้อมูลว่าเอสเอ็มอีใช้งานไอซีทีกันแค่ไหน

อย่าง ไรก็ตาม หากวางแผนดี แต่ที่สุดแล้วต้องเปลี่ยนรัฐบาลก็จะขาดความต่อเนื่อง เพราะประเทศไทยมักเปลี่ยนนโยบายเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ การแก้ปัญหาควรทำแบบ "ทอป ดาวน์ แมเนจเม้นท์" รัฐมนตรีต้องให้ความสำคัญและกำหนดแผนงาน รวมทั้งคุยข้ามกระทรวงกันได้ อาจเป็นรวมศูนย์ทุกอย่างไปไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วแบ่งงานกระจายออกมา เท่ากับมีหน่วยงานกลางคอยจัดการ มีเจ้าภาพดำเนินการงานก็จะไปได้

รวมตัวเป็นคลัสเตอร์สร้างกลยุทธ์
นายพีรสัณห์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ทีเซป) กล่าวว่าไทยมีศักยภาพทั้งด้านการส่งออก, ท่องเที่ยว รวมถึงอาหาร ซึ่งนำรายได้เข้าประเทศหลักหลายแสนล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีผู้ให้บริการจำนวนมากและขณะนี้มีโซลู ชั่นตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำ ระบบอินเทอร์เน็ตช่วยได้มาก จึงไม่ยากหากต้องการรวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์

ในทางตรงข้ามด้านการส่ง ออก นับตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ภาษี ระหว่างกลุ่มธุรกิจเอสเอสอีที่มีจำนวนมาก แนวทางที่ทำให้ตอบโจทย์ทั้งซัพพลายเชนนั้นยากกว่า ดังนั้น บริษัทที่มีซอฟต์แวร์โซลูชั่นครบถ้วนด้านโลจิสติกจะได้เปรียบ เช่นเดียวกันกับบริษัทเล็กๆ ที่มีซอฟต์แวร์เฉพาะทางควรต้องเริ่มหาพันธมิตรเพื่อไปกับบริษัทที่ใหญ่กว่า ในภาพรวมต้องดูในแง่ของอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่ากลยุทธ์ในการรวมกลุ่มคืออะไร

แนะผ่อนกฏด้านภาษีดึงนักลงทุน
เขากล่าวว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต้อง ยืนด้วยขาของตัวเองให้ได้ ส่วนการสนับสนุนของรัฐบาลถือว่าเป็นโบนัส แต่ทั้งนี้ก็มีกติกาบางอย่างที่พยายามนำเสนอให้ปรับเปลี่ยนเช่น ข้อกำหนดในบีโอไอว่าเงินลงทุนที่ทำได้ต้องมีไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทให้น้อยลง เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีเงินลงทุนมากเหมือนต่างชาติ

“ช่อง ว่างในส่วนนี้ถ้าลดลงได้ประมาณ 5 แสนบาทจะเหมาะสม เรื่องของภาษีน่าแปลกใจเช่นกัน เพราะเมื่อจับมือกับบริษัทข้ามชาติเห็นได้ว่าเขาไปตั้งบริษัทแม่ที่สิงคโปร์ เพราะบรรยากาศเราไม่ดีพอจะจูงใจให้นักลงทุนเข้ามา”

นอกจากนี้ไทย ยังมีปัญหาบุคคลากรไอที โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะ หรือความเชี่ยวชาญระดับสูง ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่คือ วงจรสั้นโดยผู้ที่มีทักษะสูงแล้วมักสมองไหลทำงานให้กับต่างประเทศ หรือตั้งบริษัทเองเพราะผลตอบแทนดีกว่า

นายพีรสัณห์ชี้ว่า ตลาดไอซีทีไทยเมื่อเปิดเสรีอาเซียนแล้วคาดว่าการเติบโตอย่างต่ำจะไม่น้อย กว่า 15% ปีที่แล้วจากตลาดรวม 6 แสนล้าน ส่วนของไอซีทีมีประมาณ 2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการไอที เรื่องฮาร์ดแวร์คาดว่าไม่เปลี่ยนแปลงมากนวัตกรรมส่วนใหญ่มาจากต่างชาติทั้ง หมด ไอทีเซอร์วิสยังคาดเดายากผลตอบแทนไม่ค่อยสูงมาก การเข้ามาลงทุนของต่างชาติเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ แต่เรื่องซอฟต์แวร์รวม ทั้งอีคอมเมิร์ซคาดว่าจะแตกต่าง จะเป็นที่จับตามองของบริษัทข้ามชาติบริษัทที่เป็นซูเปอร์สตาร์ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงด้านผู้ครอบครองแน่นอน

จี้ กสทช.ตั้งกติกาให้ชัดรับแข่งอาเซียน
นายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนา คมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ และตัวแทนสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ทีฟิท) กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (กสทช.) ต้องมีบทบาทในการกำกับดูแล ออกกติกาการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมให้ ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของกฏหมายที่เกี่ยวข้องหลายเรื่อง ทั้งกฏหมายเกี่ยวกับผู้ประกอบการ กฏหมายเรื่องใบอนุญาตให้บริการใหม่ๆ รวมไปถึงกฏหมายที่จะส่งเสริมเรื่องการลงทุน

"กสทช.ที่ เกิดขึ้นต้องตั้งกติกาการให้ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการต่างๆ ให้ชัดเจน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีการกฏหมายเรื่องประกอบกิจการต่างด้าว ในกฏหมายระบุตัวเลขการถือหุ้นสัดส่วน 49% 51% ก็ยังไม่ค่อยชัดเจน ว่าจะดู หรือจะตรวจสอบต่างชาติที่เข้ามาอย่างไร กฏหมายที่ กสทช ออกมา ถือเป็นกฏหมายลูก อาจต้องไปเทียบเคียบกับกฏหมายของกระทรวงพาณิชย์ด้วย ซึ่งไม่มีความชัดเจนเลย โดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติ"

สิ่งที่น่ากังวลหลังเปิดเออีซี คือ ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจไอซีทีได้ทั้งในไทย และในประชาคมอาเซียน ผู้ประกอบการต้องถือทั้ง 2 สัญชาติหรือไม่ หรือถ้าเป็นสัญชาติเดียว คือ ไทย แข่งเฉพาะในตลาดไทย หน่วยงานที่กำกับดูแลจะมีการป้องกันหรือคุ้มครองอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ หากไม่มี จะต้องรับมือการแข่งขันข้ามชาติที่จะเกิดขึ้นอย่างไร

" ผู้ประกอบการไอซีทีในประเทศข้างเคียง หรือในกลุ่มอาเซียน จะเข้ามาประกอบกิจการในประเทศเช่นเดียวกับเราได้ มีสิทธิได้ใบอนุญาต เสมือนเป็นเจ้าของกิจการในไทยทุกประการ อาจมีการย้อมสัญชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยได้ ตรงนี้กฏหมายที่จะเข้ามาตรวจสอบ เรามีความพร้อมแค่ไหน ผมเห็นว่า เราไม่มีการทำงานร่วมกัน การบูรณาการในไทย คือ การต่างคนต่างทำ เราจะทำอย่างไรให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกัน หาเจ้าภาพที่จะเป็นคนตัดสินใจ หรือดำเนินนโยบาย ยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อรับการแข่งขันอย่างรุนแรงที่จะเกิดขึ้น"

กฏหมาย-การแข่งขันเสมอภาค ยังอ่อน
เขา กล่าวว่า เหลือเวลาอีกแค่ 3 ปี 3 เดือน บางกิจการต้องมีการลงทุนสูง จึงต้องคิด หรือวางแผนล่วงหน้าเพื่อดึงพันธมิตรเข้ามาร่วมทุน ซึ่งต้องใช้เวลาหากเรายังไม่มีการเตรียมตัว ไม่แก้ปัญหาภายในประเทศของเราก่อน ธุรกิจไทย ทุนไทย ก็จะตามไม่ทันคู่แข่ง ทั้งยังไม่ได้รับการดึงดูด ที่ต่างชาติอยากจะเข้ามาร่วมทุนด้วย

"ธุรกิจ ไทยที่สำเร็จทุกวันนี้ เพราะมีรัฐบาลคุ้มครองอยู่ ยังไม่มีคู่แข่ง ทุกคนอยู่ภายใต้สัมปทาน ใบอนุญาตก็ยังไม่ออก ที่ออกมาเป็นใบเล็กๆ แต่อุตสาหกรรมใหญ่อย่างมือถือ ดาวเทียม สัมปทานก็ยังคุ้มครองอยู่ ไม่ได้แข่งขันอย่างเสรี สิ่งเหล่านี้เราต้องรีบดำเนินการ เปิดให้มีผู้ประกอบการใหม่ๆ แข่งขันกันมากขึ้น"

ขณะที่ ภาพรวมของโทรคมไทย หลังเปิดเออีซี เขา ระบุว่า ผู้ให้บริการรายใหม่ที่จะได้รับใบอนุญาต เพื่อให้บริการใหม่ๆ เช่น 3จี จะเข้ามาหรือไม่ ตอนนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะโดยกฏเกณฑ์ในขณะนี้ อาจยังไม่ดึงดูด ไม่มีความน่าสนใจ ดูแล้วยังสับสน ผู้ประกอบการเลยไม่กล้าเสี่ยงที่จะเข้ามา แต่เมื่อเปิดเออีซีก็ อาจจะมีบริษัทที่ย้อมสัญชาติเข้ามาลงทุนผ่านสิงคโปร์เข้ามา ผ่านมาเลเซียเข้ามา ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนี้แอคทีฟมาก จึงน่ากังวลว่าจะมีปัญหาใดตามมาเพราะความไม่ชัดเจนในกฏหมายของไทยหรือไม่

"หาก เราไม่อยากให้ฝรั่ง ต่างชาติเข้ามา ก็ต้องบอกให้ชัด เขียนให้ชัด เขาจะได้ไม่ต้องไปวิ่งเต้น แปลงสัญชาติกัน ความชัดเจนของประเทศไทยในเรื่องนี้ต้องมี โอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายปัจจุบันก็ยังต้องอยู่ และแข่งต่อไป อาจมีผู้ประกอบรายใหม่จากต่างชาติ หรือรวมถึงไทยเข้ามา กสทช ต้องมานั่งทำกติกา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมให้ชัดเจน จะมีมีเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมาก ถือเป็นโอกาสของตลาดที่จะมีการขยายตัว "

เสนอรัฐตั้ง คณะกก.ส่งเสริมไอซีที
นาย วิชัย กล่าวด้วยว่า ทางสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือ "ทีฟิท" ซึ่งถือเป็นการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมไอซีทีทุกแขนงในไทยกว่า 12 สมาคม เช่น สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย สมาคมสมองกลฝังตัว สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เป็นต้น ได้ยื่นหนังสือถึงนายอนุดิษฐ์ นาคร ทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เรียกร้องให้ภาครัฐให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีความพร้อมที่จะรับมือการเปิดเออีซี

"ทาง ทีฟิท เองที่ผ่านมาเราได้พบกับ รมว.ไอซีที เพื่อยื่นข้อเสนอ เป็นข้อสรุปร่วมกันของสมาชิก หนึ่งในข้อเสนอ คือ เรื่องกฏหมาย ที่เราเห็นว่า กฏหมายที่เกี่ยวข้องขณะนี้ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเลย ทั้งกฏหมายผู้ประกอบการที่จะมากำกับดูแล เรื่องใบอนุญาต กฏหมายเรื่องการส่งเสริมการลงทุน มันเป็นคนละเส้นทางการเดิน เราจะทำให้มันมาบรรจบกันได้อย่างไร"

ขณะเดียวกัน ยังได้เสนอให้ กระทวงไอซีทีจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมไอซีทีอย่างเป็นทางการ ให้มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ ประกอบด้วยภาคราชการ เอกชน โดยให้ รมว.ไอซีทีเป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมีความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างรัฐ เอกชน ในการแก้ปัญหา และเสนอแนวทางพัฒนาต่างๆ พร้อมให้เร่งผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติสภาไอซีที ให้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นศูนย์กลางภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และให้เป็นตัวแทนของภาคเอกชนอย่างเป็นทางการ

"เราได้เสนอให้กระทรวงไอซีที ร่วมกับภาคเอกชน จัดทำโพสิชั่นนิ่งของไทยในแต่ละภาคธุรกิจ เช่น กลุ่มแอนิเมชั่น กลุ่มซอฟต์แวร์เกมส์ ซอฟต์แวร์ระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซ เพื่อรองรับการเปิดเออีซี โดยจะต้องระดมสมองเพื่อกำหนดว่าประเทศจะเป็นอะไรในปี 2015" นายวิชัย กล่าว
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.