User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » กูเกิลฮุบ “Dealmap” ลุยกรำศึกเว็บขายดีล
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

กูเกิลฮุบ “Dealmap” ลุยกรำศึกเว็บขายดีล

ส่อแววดุเดือดยิ่งขึ้น สำหรับการแข่งขันในศึกธุรกิจเว็บไซต์จำหน่ายดีลส่วนลดสินค้าหรือบริการ (Shopping Deals Sites) ล่าสุดเบอร์ 1 ในโลกเสิร์ชเอนจินอย่างกูเกิลประกาศซื้อกิจการบริษัทอันดับ 2 ในตลาดเว็บไซต์ขายดีลส่วนลดนาม Dealmap แล้ว หวังลับคมให้กับบริการ Google Offers ที่กูเกิลเปิดให้บริการค้นหาส่วนลดร้านค้าแบบอิงสถานที่ในสหรัฐฯ มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน นับถอยหลังศึกใหญ่ที่ Groupon เบอร์ 1 ในตลาดค้าดีลจะต้องพบแน่นอนในอนาคต

ไม่เพียงแต่กูเกิล บริษัทรายใหญ่ในตลาดค้าดีลอย่าง LivingSocial ซึ่งได้เข้าซื้อบริษัทค้าดีลของไทยอย่าง Ensogo.com แล้ว ยังประกาศซื้อเว็บไซต์ขายดีลส่วนลดเพิ่มอีก 1 แห่งซึ่งให้บริการในประเทศเกาหลีใต้ และมาเลเซีย ทั้งหมดถือเป็นสัญญาณว่าตลาดค้าดีลจะมีการแข่งขันที่ดุเดือดและเติบโตยิ่ง กว่าเดิมอย่างน่าจับตา

***กูเกิลซื้อคู่แข่ง Groupon.com

บริษัทล่าสุดที่กูเกิลเข้าซื้อกิจการมีนามว่า Dealmap เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์รวบรวมดีลส่วนลดจากเว็บไซต์อื่นนับร้อยแห่ง โดยมีดีกรีเป็นคู่แข่งเบอร์ 2 ในตลาดค้าดีลรองจากยักษ์ใหญ่อย่าง Groupon

การซื้อ Dealmap จะช่วยให้กูเกิลเสริมความแข็งแกร่งบริการ Google Offers ที่กูเกิลเริ่มชิมลางในสหรัฐฯ ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาได้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะ Dealmap มีจุดแข็งที่การเป็นแหล่งรวมดีลสินค้าราคาพิเศษ ส่วนลด และคูปองสมนาคุณจากเว็บไซต์ค้าดีลหลายแหล่ง ที่น่าสนใจคือ Dealmap จะแสดงผลในรูปแผนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งบนเว็บไซต์บริษัทและทางอีเมล รวมถึงทางแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ (Android) ไอโฟนและไอแพด บนจำนวนผู้ใช้มากกว่า 2 ล้านรายในขณะนี้ (Groupon มีฐานสมาชิกปี 2010 ราว 13 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 25 ล้านคนในปี 2011)

ในอีเมลแถลงการณ์ กูเกิลระบุว่า การซื้อ Dealmap จะทำให้กูเกิลมีบริการสำหรับผู้บริโภคและบริษัทร้านค้าที่ดีกว่า เช่นเดียวกับ Dealmap ที่ระบุว่าพร้อมเข้าไปพัฒนาบริการร่วมกับกูเกิล โดยจะยังคงสนับสนุนบริการหลักและพันธมิตรของบริษัทไว้เช่นเดิม พร้อมยืนยันว่าบริษัทจะชะลอการเปิดรับดีลใหม่บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของ บริษัทไว้ชั่วคราว และจะเดินหน้าโน้มน้าวให้บริษัทห้างร้านเสนอดีลสู่บริการ Google Offers แทน

ที่ผ่านมา กูเกิลนั้นเริ่มต้นทดสอบบริการ Google Offers โดยเปิดให้ผู้อาศัยในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สามารถค้นหาส่วนลดจากร้านค้าในท้องถิ่นได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อหวังท้าชนกับบริการค้าดีลยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง Groupon ที่ให้บริการในเมืองพอร์ตแลนด์ และเมืองใหญ่อย่างซานฟรานซิสโก และนิวยอร์ก โดยกูเกิลมีแผนจะขยายบริการไปสู่เมืองอย่างออสติน บอสตัน เดนเวอร์ ซีแอตเทิล และวอชิงตัน ดี.ซี. ในอนาคต

แม้การซื้อกิจการครั้งนี้จะไม่มีการเปิดเผยมูลค่าการซื้อขาย ที่แน่นอน แต่คาดว่าจะมีมูลค่าไม่ถึง 6 พันล้านเหรียญเหมือนที่กูเกิลเคยเสนอซื้อ Groupon เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา แน่ นอนว่าความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กูเกิลถูกมองว่าจะกลายเป็นคู่แข่งขันกับบริษัท Groupon เต็มตัว ทั้งที่กูเกิลยืนยันมาตลอดว่าต้องการให้บริการจำหน่ายส่วนลดออนไลน์อย่าง Google Offers เป็นช่องทางสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อธุรกิจกับผู้บริโภคในแบบ ที่กูเกิลไม่เคยทำได้มาก่อน บนจุดประสงค์คือการติดอาวุธให้กูเกิลสามารถแข่งขันในธุรกิจโฆษณาออนไลน์ได้ ดีกว่าเดิม

การที่กูเกิลสามารถควบรวม Dealmap ได้ ทำให้กูเกิลสามารถเพิ่มจำนวนพันธมิตรมากมายโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และมีโอกาสการยกระดับรูปแบบธุรกิจโฆษณาออนไลน์ได้เร็วขึ้น โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่า หากกูเกิลสามารถเข้าสู่สังเวียนธุรกิจจำหน่ายดีลส่วนลด ธุรกิจนี้จะสามารถทำเงินให้กูเกิลได้อีกมหาศาล โดยเฉพาะตลาดโฆษณาในท้องถิ่นที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดเฉพาะในสหรัฐฯถึง 91,000 ล้านเหรียญ

***“ลีฟวิ่งโซเชียล” สยายปีกเอเชีย

ไม่เพียงกูเกิล บริษัท LivingSocial ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในวอชิงตัน ดี.ซี. ก็ประกาศเข้าซื้อเว็บไซต์จำหน่ายดีลส่วนลดเพิ่มอีก 1 แห่งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นั่นคือ TicketMonster เว็บไซต์เสนอดีลรายวันและส่วนลดค่าแพคเกจท่องเที่ยวในเกาหลีใต้และมาเลเซีย ถือเป็นการซื้อเว็บไซต์ดีลรายวันต่อเนื่องหลังจากได้เข้าซื้อเว็บไซต์ที่ ดำเนินธุรกิจลักษณะนี้ใน 23 ประเทศ ทั้งไทย ฟิลิปินส์ และอินโดนีเซีย

“ดีล” นั้นเป็นข้อเสนอส่วนลดราคาสินค้าและบริการซึ่งยั่วใจนักชอปด้วยคำว่า Sale 50-90% เว็บขายดีลส่วนลดเหล่านี้จะเปิดให้ธุรกิจร้านค้าอย่างร้านอาหาร โรงแรม หรือสปา สามารถทำการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ได้ โดยชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของธุรกิจลักษณะนี้คือ Social Commerce เพราะชาวโซเชียลเน็ตเวิร์กคือเรียวแรงสำคัญในการบอกต่อ และเผยแพร่จนทำให้มีการซื้อขายดีล และดึงคนออนไลน์เข้าไปใช้บริการร้านค้าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.