User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » แทบเล็ต "เพื่อไทย" ต้องมองไกลหลักสูตร-ครู
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

แทบเล็ต "เพื่อไทย" ต้องมองไกลหลักสูตร-ครู

ทันทีที่เพื่อ ไทยขึ้นแท่นเป็นว่าที่รัฐบาลใหม่หนึ่งในสิ่งที่น่าจับตามองไม่แพ้โผครม.คือ การย้อนกลับมาดูนโยบายที่พรรคได้ใช้หาเสียงไว้ก่อนหน้านี้

สแกนกันรายข้อแล้วมีนโยบายที่กระทบกับอุตสาหกรรมไอทีชัดเจนที่สุด คือ การแจกแทบเล็ตให้แก่เด็ก ป.1 ทุกคน เพื่อใช้ในการศึกษา

นายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะแวลลู ซิสเตมส์ จำกัด กล่าวว่า ยังไม่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลในตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้ตั้ง ยังไม่ทราบว่าใครจะมานั่งกระทรวงใด แต่ในมุมของพ่อค้านักธุรกิจเห็นว่า นโยบายแจกแทบเล็ตแก่เด็กนักเรียนนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะนักเรียนจะประหยัดค่าหนังสือไปได้มาก ถ้านำแทบเล็ตนั้น มาดาวน์โหลดหนังสือเรียนอ่าน 3-54 หมื่นเครื่อง ดังนั้น นอกจากฮาร์ดแวร์แล้ว ต้องคำนึงถึงซอฟต์แวร์และคอนเทนท์ที่จะนำมาใช้ร่วมด้วย

ส่วนราคาเครื่องระดับ 3-5 พันบาท หากมีปริมาณซื้อจำนวนมากๆ ระดับแสนเครื่องก็ไม่ใช่ปัญหา จะสามารถหาเครื่องที่มีคุณสมบัติที่ดีได้ ยิ่งหากตัดคุณสมบัติด้านโทรศัพท์ออกไป ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และไวไฟ ต้องทำราคาได้แน่

ทั้งนี้ แบรนด์ที่สามารถจะลงแข่งขันได้ เช่น เลอโนโว ซัมซุง เอชพี หรือโตชิบา ล้วนน่าจับตามอง ยกเว้นแอ๊ปเปิ้ลที่คงจะไม่ลงมาเล่นตลาดนี้

แนะรัฐอย่ายึดติดแค่ "แทบเล็ต"
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ในมุมมองของผู้ประกอบการไอทีนโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เด็ก ตั้งแต่ ประถม 1 ได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการศึกษา

อย่างไรก็ตามรัฐไม่ควรยึดติดว่าจะต้องสนับสนุนให้เด็ก ป.1 ต้องใช้แทบเล็ตเท่า นั้น เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเครื่องมือพื้นฐานที่เน้นหนักกับการใช้ งานคอนเทนท์มากกว่าจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ หรือสร้างคอนเทนท์ได้ด้วยตัวเอง แต่ยังมีอุปกรณ์ที่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็กอีกหลายประเภท เช่น เน็ตบุ๊ค และโน้ตบุ๊คที่มีแป้นพิมพ์ และเอื้อต่อการใช้งานเพื่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป

"ไหนๆ จะเสียเงินแล้วรัฐก็ไม่ควรจำกัดแค่เครื่องราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งอาจจะไม่ได้คุณสมบัติที่เหมาะจะใช้เรียนรู้อย่างแท้จริง แต่เมื่อรัฐสัญญาว่าจะต้องเป็นแทบเล็ตก็มีความเป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ควรต้องมองอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเน็ตบุ๊ค หรือแทบเล็ต เพื่อการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องขึ้นไปอีก" นายเอกรัศมิ์ กล่าว

ผู้บริหารอินเทลแนะว่า รัฐไม่ควรจำกัดงบซื้ออุปกรณ์แค่ 3-5 พันบาท หากยังคงเดินหน้านโยบายนี้ควรแบ่งเป็นเฟส เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของงบประมาณ และการตัดสเปคสำคัญของเครื่องออกเพื่อให้ได้ราคาตามที่ต้องการ เนื่องจากความพร้อมของโรงเรียนที่จะสอนให้เด็กใช้แทบเล็ตเพื่อ เรียนรู้ก็แตกต่างกัน ดังนั้นการกระจายเครื่องโดยแบ่งเป็นเฟสให้กับโรงเรียนที่พร้อมก่อนน่าจะเป็น ทางออกที่ดี และทำให้รัฐสามารถทยอยการลงทุนได้

พัฒนาครู-หลักสูตร-เครือข่าย
นายวีระ อิงค์ธเนศ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอสวีโอเอ กล่าวว่า สนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาให้มากที่สุด แต่รัฐบาลต้องคิดให้กว้างกว่าฮาร์ดแวร์ ไม่ยึดติดกับแทบเล็ตเท่า นั้น ควรใช้จังหวะนี้พัฒนาพีเพิ่ลแวร์ ยกระดับคุณภาพ กระตุ้นครูให้เรียนรู้ เพิ่มทักษะและความรู้ นำไปสู่การเพิ่มค่าตอบแทนให้สูงขึ้น ควบคู่คอร์สแวร์ การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม ซึ่งการพัฒนาทั้งสองสิ่งดังกล่าวน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีจากนั้นจะทราบผลว่า ควรใช้ฮาร์ดแวร์อะไร ขณะเดียวกันต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบโครงข่ายไว้รองรับ เนื่องจากการพัฒนาการศึกษาต้องไปทั่วประเทศ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม

ทั้งนี้ คุณสมบัติฮาร์ดแวร์ที่จะนำมาใช้ ถึงเป็นแทบเล็ตแต่ ระดับชั้นที่เปลี่ยนไป สเปคเครื่องก็ต้องเปลี่ยนด้วย ระดับ ป.1 มัธยม และมหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้สเปคเดียวกันเพราะรองรับหลักสูตรต่างกัน

"ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองด้วย เชื่อว่า หากไม่ได้แจกแทบเล็ตในปีแรก ประชาชนก็ต้องเข้าใจ หากเริ่มต้นพัฒนาพีเพิ่ลแวร์ คอร์สแวร์ และอินฟราสตรัคเจอร์ ก็ถือว่าได้เริ่มทำแล้ว" นายวีระ กล่าว

พร้อมกันนี้ เขาระบุว่า ในส่วนของภาคเอกชนก็ได้ประโยชน์จากโครงการ ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ไอทีมากขึ้น มีโอกาสขยายอุปกรณ์เสริม หรือการอัพเกรดเครื่องก็ไปซื้อเองได้ ใช้งานได้เต็มคุณสมบัติ 100% ไม่ใช่ใช้ 10% ของความสามารถเครื่อง

เอซุสเชื่อแค่นโยบายหาเสียง
นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทต้องรอดูจนกว่ารัฐจะประกาศทีโออาร์ที่ชัดเจน เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นอาจทำได้ค่อนข้างยาก ด้วยราคาแทบเล็ตปัจจุบันยังอยู่หลักหมื่นบาทขึ้นไป หรือหากทำได้รัฐก็จำเป็นต้องซับซิไดซ์บางส่วนให้ผู้ผลิต

นอกจากนี้บริษัทมองว่า การแจกแทบเล็ตให้ เด็กอาจเป็นเพียงนโยบายการหาเสียง และทำตามกระแสเท่านั้น เนื่องจากคุณสมบัติของเครื่องที่เน้นหนักการใช้งานด้านมัลติฟังก์ชัน และเล่นเกมเป็นหลักมากกว่าจะใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งเอซุสในต่างประเทศมีโครงการผลิตเครื่องให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการลักษณะ เดียวกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นเน็ตบุ๊ค

ชี้ "โจทย์" นโยบายหาเสียงต่างยุค
ขณะ ที่เมื่อเทียบกับนโยบายการทำพีซีราคาประหยัดให้ประชาชนทั่วไปของพรรคเพื่อ ไทย หรือไทยรักไทยเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา นายเอกรัศมิ์ มองว่า เป็นนโยบายที่ทำภายใต้โจทย์ที่แตกต่างกัน และมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

"นโยบายพีซีราคาต่ำในสมัยหมอสุรพงษ์ (สืบวงศ์ลี) เป็นเป้าหมายที่ทำในยุคที่พีซียังราคาสูงมาก เช่น โน้ตบุ๊คราคาต่ำที่สุดยังหลัก 3-4 หมื่นบาท และรายได้ประชาชนยังต่ำ แต่มายุคนี้ประเด็นเรื่องการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงพีซีไม่ได้เป็นโจทย์หลัก แต่เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้ใช้แทบเล็ตอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่ต่างกัน และทาร์เก็ต กรุ๊ปก็ต่างกันด้วย" นายเอกรัศมิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามเขาระบุว่า โจทย์ของรัฐบาลปัจจุบันยังไม่ชัดเจน ซึ่งต้องรอจนกว่าจะมีรายละเอียดมากกว่านี้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ รัฐจะต้องมองการสร้างประโยชน์ให้อุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการทั้งโลคอล และมัลติ เนชั่นแนลแบรนด์ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ส่วนนายวีระ มองว่า การผลิตคอมพิวเตอร์ไอซีทีเพื่อประชาชนที่ใช้แบรนด์ของรัฐ ผู้ประกอบการเอกชนไม่สามารถสร้างแบรนด์ตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้นมาได้ แต่โครงการนี้รัฐต้องมองแง่กระตุ้นอุตสาหกรรมไอทีในประเทศได้ ด้วยการนำชิ้นส่วนมาประกอบเครื่อง สร้างอุตสาหกรรมในประเทศให้เข้มแข็ง และสร้างแบรนด์ แชมเปี้ยน โดยการให้เจ้าของแบรนด์ไปพัฒนาเครือข่าย บริการ และคอลล์เซ็นเตอร์

"รัฐบาลควรใช้โอกาสที่มีเสียงข้างมากเกินครึ่งพัฒนาประเทศ ซึ่งทำให้ความหวังที่จะแข่งขันกับสิงคโปร์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่กลัวว่าจะต้องไปแข่งกับเวียดนาม"


ส่องเพื่อนบ้านเอเชีย ส่งเสริมแทบเล็ตนักเรียน

โดย : วริยา คำชนะ, ปานฉัตร สินสุข

จากกระแสความแรงของไอแพดจากแอ๊ปเปิ้ล และแทบเล็ตแบ รนด์อื่นๆ เริ่มได้รับความนิยม และถูกใช้เป็นเสมือนสมุดจดในบางโรงเรียนในประเทศแถบเอเชียมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุเพราะว่าเด็กๆ สนใจกับการทดลองเล่นสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถใช้แทนสมุดจดของพวกเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศที่พยายามรณรงค์การใช้กระดาษให้น้อยลง

รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า การใช้แทบเล็ตมี ข้อดีในแง่การเป็นพอร์เทเบิล ดีไวซ์ ที่สามารถพกพาได้ง่าย เก็บหนังสือได้เป็น 1 พันเล่ม แทนที่จะต้องแบกตำราเรียน สมุดจด และเครื่องเขียนไปโรงเรียนทุกวันเหมือนแต่ก่อน
สิงคโปร์เป็นอีกหนึ่ง ประเทศที่พยายามสร้างระบบการศึกษาให้มีมาตรฐานระดับสูงทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้โรงเรียนต่างๆ ซื้อดีไวซ์เหล่านี้ได้ รวมไปถึงซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้องด้วย

ทั้งนี้หลายโรงเรียนที่เริ่มทำโครงการต่างมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน โทรคมนาคมที่พร้อมอยู่แล้ว เช่น บริการไวไฟภายใน ทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตง่ายและไม่เป็นอุปสรรคเมื่อต้องใช้งาน

โรงเรียนมัธยมสตรีนันยาง แห่งสิงคโปร์ กำลังทดลองการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างที่มีนักเรียนมากกว่า 120 คน อาจารย์ 16 คน ด้วยงบประมาณที่มากกว่า 1 แสนดอลลาร์ และปี 2556 มีนโยบายว่านักเรียนทุกคนจะมีคนละ 1 เครื่อง และมีเรื่องที่ต้องทำประกอบกันไปคือ การพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาโดยเฉพาะ

นายแซม ฮาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีในระบบการศึกษา ชาวสหรัฐ ให้ความเห็นว่า การเพิ่มขึ้นของห้องเรียนเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง การเพิ่มขึ้นที่สอดคล้องกันกับวิถีชีวิตของคนในสังคม

ญี่ปุ่น-เกาหลีตื่นตัว
รายงานข่าวกล่าวว่า ไม่นานมานี้รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสาร ประเทศญี่ปุ่น ได้ริเริ่มโครงการที่เรียกว่า “ฟิวเจอร์ สคูล” โดยการมอบแทบเล็ตจำนวน 3 พันเครื่องให้แก่โรงเรียนประถมจำนวน 10 โรงเรียนที่นักเรียนอายุต่ำกว่า 12 ปี พร้อมกับจัดบรรยากาศห้องเรียนให้ล้ำสมัยเต็มรูปแบบ ด้วยการใช้กระดานดำแบบอินเทอร์แอ็คทีฟ

ในเกาหลีใต้ ซึ่งโรงเรียนมีไวไฟไว้บริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ทดลองใช้ “ดิจิทัล เท็คบุ๊คส์” ในบางโรงเรียนตั้งแต่ปี 2550 และปี 2555 วางแผนไว้ว่าจะแจกจ่ายแทบเล็ตให้แก่ทุกโรงเรียนทั่วประเทศ

ดีแต่เป็นดาบสองคม
อย่างไรก็ตาม อาจารย์บางคน ตั้งข้อสังเกตว่า การใช้งานเทคโนโลยีย่อมมีด้านบวกและลบ มองในด้านลบนักเรียนบางคนติดการเล่นเกม หรือไม่ก็เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค อย่างเฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์อยู่ตลอดเวลา

“นายคิว ลิน” นักจิตวิทยาทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง เตือนว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการศึกษาต้องระมัดระวัง สำคัญที่สุดต้องชัดเจนว่าจุดประสงค์ที่ต้องการนำมาใช้นั้นเพื่ออะไร

“เทรนด์การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานในระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นแน่นอน ทว่าหลังจากที่ใช้งานไปแล้ว ต้องพิจารณาในประเด็นที่สำคัญว่าสิ่งใดที่จะส่งผลดีต่อหลักสูตรและช่วยเป็น เครื่องมือสำหรับช่วยผู้สอน ซึ่งสามารถพัฒนาความคิด และแก้ปัญหาในสิ่งที่นักเรียนต้องการได้อย่างแท้จริง”

เพื่อไทยแจกแทบเล็ต ป.1
มองมายังประเทศไทย นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นโยบายหลัก ด้านไอซีทีของพรรคเพื่อไทย คือ การผลักดันบรอดแบนด์ ไวร์เลส ให้ครอบคลุมทั่วถึงมากสุด ซึ่งเขาต้องการทำให้เสร็จภายในปี 2556 ครอบคลุมจำนวนประชากร 80% ของประเทศ เร็วกว่านโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่กำหนดให้ครอบคลุมปี 2557 โดยแนวทางที่จะผลักดันให้เกิดการกระจายตัวความสามารถในการเข้าถึงอิน เทอร์เน็ตนั้น จะจัดให้มีโครงการฟรีไว-ไฟ ในเขตเมือง สถานศึกษา สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ราชการ

อีกทั้ง ยังมีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยทันสมัยมากขึ้น โดยจะใช้ศูนย์ไอซีทีชุมชน จัดฝึกอบรมให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถใช้อีเมลติดต่อสื่อสาร ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้ามาเช็คข้อมูลผลผลิต สภาพอากาศ และปัญหาภัยแล้ง เป็นการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกร

ขณะเดียวกันศูนย์ไอซีทีชุมชน ยังทำหน้าที่ให้ข้อมูลด้านการตลาด และส่งเสริมให้เกิดทำอีคอมเมิร์ซในชุมชน ซึ่งแนวนโยบายของพรรคเพื่อไทยนั้นจะกระจายงบประมาณไปยังท้องถิ่นให้เป็นผู้ ดำเนินการจัดสร้างศูนย์ไอซีทีชุมชนขึ้นมา เพื่อสร้างศูนย์ไอซีทีชุมชนให้เกิดอย่างรวดเร็ว ต่างจากปัจจุบันที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดสร้างขึ้นมาในแต่ละชุมชน

นอกจากนี้ยังมีนโยบายใช้เทคโนโลยีไอซีที เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยจะปฏิรูปหลักสูตรให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และแจกแทบเล็ตพีซี ที่เป็นเหมือนอีบุ๊ค มาพร้อมโปรแกรมการเรียนการสอน หรือคอร์สแวร์ และสามารถใช้เครือข่ายไร้สาย ไวไฟฟรี โดยการลงทุนแจกแทบเล็ต ถือเป็นการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรที่คุ้มค่า เป็นการเพิ่มศักยภาพคนเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ปี 2558

ทั้งนี้ การแจกแทบเล็ตพี ซี ให้แก่เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6 ที่มีจำนวนนักเรียนทั่วประเทศ 10 ล้านคน ระยะเริ่มต้นจะโฟกัสชั้นประถมปีที่ 1 จำนวน 8 แสนคน ใช้วงเงินงบประมาณไม่เกิน 5,000 ล้านบาท หากคิดค่าใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1.82 บาท
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.