 |
 |
 |
 |
ข่าว |
 |
 |
|
 |
 |
PayPal เจาะลึก "ขาช็อป" ไทย ชี้ช่องรวยบน "เว็บ-มือถือ"
น่า สนใจทีเดียว สำหรับผลศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของ "PayPal" ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ชื่อดัง เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีเปิดเผยถึง ผลการศึกษา "ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต และผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย"
โดย PayPal เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์สูงถึง 14.7 พันล้านบาท แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มและทัศนคติที่ตอกย้ำกิตติศัพท์คนไทยในฐานะ "ขาช็อป" ตัวยง
จากผลการวิจัยของ PayPal ซึ่งมีการจัดทำโดยบริษัท นีลเส็น พบว่า ใน ปี 2553 ขนาดตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์ของประเทศไทยมีมูลค่า 14.7 พันล้านบาท โดยมีจำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์คนไทยถึง 2.5 ล้านคน (อายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) มียอดใช้จ่ายเงินเฉลี่ยต่อคนถึง 13,181 บาท โดย 71% ของยอดรวมการซื้อสินค้าผ่านระบบ ออนไลน์ทั้งหมด มาจากกลุ่มชนที่มีรายได้ปานกลางในประเทศไทย
"การซื้อสินค้าออนไลน์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีมูลค่าตลาดเกือบ 15,000 ล้านบาท บ่งบอกว่านักช็อปคนไทยมองเห็นประโยชน์มากมายจากการซื้อสินค้าและบริการผ่าน อินเทอร์เน็ต ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขา" เอเลียส กาห์เน็ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้จัดการใหญ่ของ PayPal ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดียกล่าวและว่า
"ผู้บริโภคคน ไทยชื่นชอบการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ในประเทศมากพอ ๆ กับเว็บไซต์ต่างประเทศ และใช้สื่อ ออนไลน์เพื่อหาซื้อสินค้าที่แตกต่างหลากหลาย และไม่ใช่เพื่อมองหาสินค้าราคาถูกที่สุดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผู้ค้าปลีกภายในประเทศมีโอกาสแข่งขันกับเว็บไซต์ต่างประเทศ ควรเร่งสร้างร้านค้าออนไลน์ในทันทีเพื่อช่วงชิง ส่วนแบ่งทางการตลาด"
นอก จากนี้ยังพบด้วยว่า สัดส่วนการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคคนไทยผ่านเว็บไซต์ใน ประเทศ มีมูลค่า 6.1 พันล้านบาท หรือ 41% เทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศที่ 6.4 พันล้านบาท หรือ 44% ที่เหลืออีก 2.2 พันล้านบาท หรือ 15% เป็นการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ไม่ระบุประเทศ
โดยผลการศึกษายังระบุ ถึงเหตุจูงใจของนักช็อปไทยในการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ต่างประเทศว่า เพราะเป็นสินค้าที่ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย คิดเป็น 45% เป็นผลิตภัณฑ์/บริการที่มีราคาถูกกว่า 36% และมีความสะดวกในการ ซื้อเทียบเท่ากับการซื้อผ่านระบบ ออนไลน์ในประเทศ 30%
ดังนั้นผู้ขาย สินค้าจึงมีโอกาสในการเข้าถึงการเติบโตของตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศ ไทยได้ไม่ยากนัก หากจัดเตรียมสินค้าบนร้านค้าออนไลน์ของตนเองให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น
ขณะ เดียวกัน PayPal แสดงผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของ ผู้บริโภคคนไทยนิยมซื้อที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่แค่ตั๋วเครื่องบิน หรือจองโรงแรม แสดงให้เห็นว่าการซื้อสินค้าออนไลน์กำลังกลายเป็นกระแสนิยม และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนไทย
ประเภทสินค้ามีดังนี้ สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า, รองเท้า, เครื่องแต่งตัว, สุขภาพ, ความงาม เครื่องประดับ) คิดเป็นมูลค่า 3.1 พันล้านบาท (21%), สาระบันเทิง (หนังสือ, ภาพยนตร์, เพลง, เกม, การแสดง) มูลค่า 3.1 พันล้านบาท (21%), ผลิตภัณฑ์ไอที (ฮาร์ดแวร์/ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์อิเล็ก ทรอนิกส์) มูลค่า 2.4 ล้านบาท (16%), การเดินทาง (ตั๋วเครื่องบิน, เรือ, รถไฟ และแพ็กเกจท่องเที่ยว) มูลค่า 1.8 พันล้านบาท (13%),
โดยคนไทยใช้จ่ายเงินซื้อตั๋วเครื่องบินในเว็บไซต์ต่างประเทศถึง 61% (696 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ท้องถิ่น อยู่ที่ 433 ล้านบาท
และ คนไทยใช้จ่ายเงินมากกว่า 27% สำหรับเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่อง ประดับในเว็บไซต์ต่างประเทศ เป็นเงิน 716 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ ท้องถิ่นจะอยู่ที่ 562 ล้านบาท แต่ใช้จ่ายเงินมากกว่า 17% สำหรับหนังสือในเว็บไซต์ท้องถิ่น (655 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ (561 ล้านบาท) และใช้จ่ายเงินมากกว่า 11% สำหรับสินค้าสุขภาพและความงาม ในเว็บไซต์ในประเทศ (526 ล้านบาท) ขณะที่จากเว็บไซต์ต่างประเทศอยู่ที่ 473 ล้านบาท และซื้อขายผลิตภัณฑ์/บริการทางด้านการเงินที่ 427 ล้านบาท) ในเว็บไซต์ในประเทศเป็นส่วนใหญ่
สำหรับประเทศ 5 อันดับแรกที่คนไทยใช้จ่ายเงินซื้อของบนเว็บไซต์ คือ สหรัฐอเมริกา (27%) ญี่ปุ่น (15%) จีน (14%) เกาหลีใต้ (13%) และฮ่องกง (10%)
จากการ ศึกษายังพบด้วยว่า คนไทยที่ซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่า 6 คนใน 10 คน เชื่อว่าพวกเขากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงทุกครั้งที่ทำธุรกรรมออนไลน์โดยใช้ บัตรเครดิต/เดบิตของพวกเขา แต่การเพิ่มมาตรการด้านระบบรักษาความปลอดภัย มีส่วนโน้มน้าวให้ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่าครึ่งใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าออ นไลน์เพิ่มมากขึ้น
อีกทั้ง 58% ของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีรายได้ปานกลางจะเต็มใจเพิ่มการสั่งซื้อสินค้า ออนไลน์มากขึ้น ถ้าระบบรักษาความปลอดภัยได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยผู้ซื้อสินค้าออนไลน์กลุ่มนี้มีสัดส่วนมากที่สุดของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งหมด (71%) และสุดท้ายคือ ข้อค้นพบที่สำคัญสำหรับการซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ แสดงให้เห็นว่า เอ็มคอมเมิร์ซ (m- commerce) อยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่มีศักยภาพในการเติบโตเพิ่มขึ้นในอนาคต
โดยผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ กว่า 837,000 คน ใช้จ่ายราว 1.7 พันล้านบาท ผ่านโทรศัพท์มือถือในปี 2553 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11% ของมูลค่ารวมของตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งปกติจะซื้อสินค้าราคาถูก เช่น ดาวน์โหลดภาพยนตร์/เพลง/เกม (27%) เสื้อผ้า/ รองเท้า/เครื่องประดับ (23%) หนังสือ (19%) และตั๋วภาพยนตร์/การแสดง (11%) และคิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนราว 1,600 บาท
ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ 4 คนจาก 10 คนเต็มใจซื้อสินค้าผ่านทางโทรศัพท์ มือถือ แต่อุปสรรคสำคัญในการซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของโทรศัพท์มือถือที่มีความเร็วต่ำ (54%) ขนาดหน้าจอมือถือที่เล็กเกินไป (44%) และปัญหาเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัย (29%)
ผู้บริหาร PayPal ย้ำด้วยว่า เรื่องเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการไทยควรเร่งดำเนินการทันที คือการนำกลยุทธ์การจัดจำหน่ายหลายช่องทางมาประยุกต์ใช้โดยเร็ว เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ทั้งในร้านค้า ร้านค้าออนไลน์ และผ่านโทรศัพท์มือถือ
ขณะเดียวกันควรมีการจัดเตรียมสินค้าที่มี ความหลากหลายมากกว่าเดิม และเพิ่มตัวเลือกในการชำระเงินที่มีความปลอดภัยมากขึ้นภายในเว็บไซต์ของตน เอง เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ และควรมีตัวเลือกวิธีการชำระเงินบนโทรศัพท์มือถือที่มีความปลอดภัยมากยิ่ง ขึ้น
|
 |
 |
 |
 |