User Online ( 1 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » เปิดวิสัยทัศน์ ว่าที่ 11 อรหันต์ กสทช.ภาคกิจเร่งด่วน และปัญหาที่รอสะสาง
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

เปิดวิสัยทัศน์ ว่าที่ 11 อรหันต์ กสทช.ภาคกิจเร่งด่วน และปัญหาที่รอสะสาง

เปิด วิสัยทัศน์แคนดิเดต กสทช. ชี้แผนแม่บท คือ งานแรกที่ต้องเร่งทำ พร้อมเผยปัญหาของโทรคมนาคมไทยเกิดจากออกใบอนุญาต 3G ไม่ได้ ระบุ ปัญหาหลักโทรคมฯ คือ สัญญาสัมปทานใกล้หมด ตั้งโจทย์ กสทช. ชุดใหม่ต้องกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายให้ชัดเจน ด้าน กทช. ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ชี้ ต้องทำแผนแม่บทเสร็จภายใน 6 เดือน

รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม กทช. ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หนึ่ง ในแคนดิเดต กสทช. ชุดใหม่ กล่าวว่า หากได้รับเลือกให้เป็น กสทช. นั้น สิ่งที่จะดำเนินการในเบื้องต้นที่สุด คือ จะต้องจัดรูปแบบองค์กรให้รับกับ พ.ร.บ. กสทช. 2553 รวมถึงดูแลเรื่องบุคคลในองค์กร ซึ่งในช่วงนี้ ส่วนตัวรู้สึกว่ามีความไม่แน่นอน

“เนื่อง จากกฎของ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ บุคคลในองค์กรเขาก็ต้องรอ กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งเขาก็ต้องทำงานกันไปก่อน ในรูปแบบของรักษาการชั่วคราว โดยเราต้องเข้าไปดูแลในตรงนี้ เพราะว่าเป็นความแน่นอนในอาชีพการงาน รวมถึงเป็นขวัญและกำลังใจ”

นอก จากนี้ ในส่วนที่จะต้องดำเนินการต่อ คือ ดูแลเรื่องแผนแม่บทให้รีบออกมาให้ได้ โดยฝั่งของ Broadcasting ที่ได้ดูแลอยู่นั้น สิ่งที่ควรจำต้องเร่งดำเนินการเรื่องแรก คือ เรื่องของแผนแม่บท เพราะหากไม่มีแผนแม่บทแล้ว บทบาททางด้านการจัดสรรคลื่นความถี่ จะไม่สามารถทำได้ อีกทั้งเมื่อจัดสรรคลื่นความถี่ไม่ได้แล้ว การออกใบอนุญาตต่างๆ ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจะต้องดูแลเรื่องแผนแม่บทในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

“ใน ความรับผิดชอบของ กสทช. จะต้องดูในส่วนของกิจการด้านโทรคมนาคมด้วย ถึงแม้ทุกคนจะมีที่มาที่ต่างกัน และอจจะได้รับมอบหมายให้ดูแลทางด้านที่แตกต่างกัน แต่ว่าความรับผิดชอบโดยรวมในฐานะ กสทช. จะต้องรับผิดชอบทั้งหมดทางด้านโทรคมนาคม และ Broadcasting”

ทำแผนเสร็จ วางแผนเดินหน้างานตามความสำคัญ

ใน ส่วนของ Broadcasting แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงจะมีความเกี่ยวพันกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความ ถี่แห่งชาติ เพราะฉะนั้นทุกแผนแม่บทจะต้องดำเนินการให้เสร็จ เมื่อเสร็จแล้วจะต้องมาลำดับงานที่ต้องทำ โดยเรียงลำดับจากความสำคัญ รวมถึงงานที่กฎหมายระบุให้ทำ และปัญหาที่ค้างสะสมมา

อย่างไรก็ดี งานที่กฎหมายระบุให้ทำนั้น รศ.ดร. พนา กล่าวว่า เฉพาะในส่วนของ Broadcasting มีเรื่องการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ให้เป็นระบบดิจิทัล การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้ามาใช้คลื่นโทรทัศน์ชุมชน รวมถึงในเรื่องการส่งเสริมทางด้านภาควิชาชีพได้มีการรวมตัวกัน ซึ่งเป็นบทบาทการส่งเสริมที่กฎหมายกำหนดไว้

“ใน ด้านของปัญหาที่สะสมมาและจะต้องทำนั้น กสทช. ก็ควรจะต้องมาวิเคราะห์ร่วมกันว่ามีปัญหาอะไรเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข ผมว่าแรกสุดน่าจะเป็นเรื่องของการออกใบอนุญาตให้กับวิทยุ ธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันนี้มีจำนวนเยอะที่เขาไม่ใช่วิทยุชุมชน แต่เขาเป็นวิทยุที่มีโฆษณาในเชิงธุรกิจ ตรงนี้อาจจะต้องดู และทำงานเป็นหลายเฟส โดยเฟสแรกต้องดูในต่างจังหวัดว่ามีคลื่นไหนที่จัดสรรได้และเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องผูกพันกับแผนแม่บทคลื่นความถี่ รวมถึงแผนแม่บทกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์”

รศ. ดร. พนา กล่าวต่อว่า จากการดำเนินการที่ผ่านมา แผนแม่บทถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานต่างๆ เพราะถ้หากแผนแม่บทไม่เสร็จ งานส่วนอื่นๆ ก็จะสานต่อได้ยาก


นอก จากนี้ เขายังได้ให้มุมมองทางด้านโทรคมนาคมของไทย รวมถึงที่มีหลายฝ่ายกล่าวว่าจะดำเนินการอะไรต้องรอ กสทช. ว่า ในหลายเรื่องกฎหมายให้อำนาจ กสทช. ไว้ พอ กสทช. ยังไม่เกิดก็เลยไม่สามารถทำอะไรได้ โดยเฉพาะคำสั่งศาลในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งศาลได้มีคำสั่งไว้ว่าต้องมีแผนแม่บทถึงจะอนุญาตคลื่นความถี่ได้ จากจุดนี้เองก็จะย้อนมาที่แผนแม่บทที่จะต้องรีบทำเช่นกัน

ปัญหาโทรคมฯ เกิดจากออกใบอนุญาต 3G ไม่ได้

เขา กล่าวว่า ในส่วนของปัญหาทางด้านโทรคมนาคมของเรานั้น ไม่ว่าจะเป็น ทรู-กสท ส่วนหนึ่ง หรือกรณีของ เอไอเอส-ทีโอที ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเนื่องจากว่า เราไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับการประกอบกิจการ 3G ซึ่งคิดว่าถ้าทำแผนแม่บทคลื่นความถี่ได้ และออกใบอนุญาต 3G ได้ ปัญหาเหล่านี้ก็จะคลี่คลายไปโดยปริยาย

“ปัญหา ที่เกิดขึ้นเกิดจาก เราไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ จึงไม่เป็นธรรมชาติ เพราะตามธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ แต่ที่เราทำอยู่เกิดใหม่ไม่ได้ เมื่อเกิดใหม่ไม่ได้ปัญหาก็เกิดเยอะ”

ปัญหาหลักโทรคมฯ คือ สัญญาสัมปทานใกล้หมด

ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. อีกหนึ่งตัวเต็ง กสทช. ชุดใหม่ กล่าวว่า ในเรื่องของโทรคมนาคม เรื่องหลักจะเป็นเรื่องของสัญญาสัมปทานที่ใกล้จะหมดลง ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับการออกใบอนุญาตใหม่ ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับบริการที่ทันสมัยขึ้น และลดผลกระทบของเรื่องสัญญาสัมปทานหมดลง และในอนาคตไม่รู้ว่าจะแก้ไขได้หรือไม่ได้อย่างไร ทั้งนี้ กสทช. จึงต้องทำเรื่องใบอนุญาตใหม่ โดยเฉพาะเรื่อง 3G ซึ่งค้างอยู่ ตอนนี้ศาลปกครองก็บอกว่าเนื่องจากยังไม่มีแผนแม่บทคลื่นความถี่กับตาราง กำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แต่เมื่อมี กสทช. ก็จะสามารถแก้ข้อจำกัดตรงนี้ได้

“ให้ กสทช. ออกแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ รวมถึงการประมูลใบอนุญาตใหม่ก็จะสามารถดำเนินการได้”

อย่าง ไรก็ดีในด้านของการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้ตัวว่าถูกละเมิด ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราทำการสำรวจพบว่า 60% ผู้บริโภคถูกละเมิด โดยมีแค่ 2% จากผู้ที่ถูกละเมิดนั้นลุกขึ้นมาพิทักษ์สิทธิ์ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าไม่รู้สิทธิ์ และไม่รู้ถึงช่องทางการใช้สิทธิ์ของตัวเอง

“สิ่ง ที่ กสทช. ชุดใหม่จะทำได้ คือ ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ์ และช่องทางการรักษาสิทธิ์ ซึ่งการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เขาลุกขึ้นมาใช้สิทธิ์ของตัวเอง นอกจากนี้ในเรื่องที่สองคือ กสทช. จะต้องดำเนินการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือตั้งเครือข่ายผู้บริโภคในการช่วย คุ้มครองสิทธิของคนที่ไม่ได้ลุกขึ้นมาพิทักษ์สิทธิ์ของตัวเอง ซึ่งผมเชื่อว่า กสทช. อาจจะสร้างองค์กรผู้บริโภคได้ ซึ่งองค์กรผู้บริโภคก็จะออกมาพิทักษ์สิทธิ์”

ตัวอย่างปัญหาผู้บริโภคที่ผ่านมา

นอก จากการตั้งองค์กรผู้บริโภคแล้ว อีกทางหนึ่ง กสทช. จะต้องหารือกับผู้ประกอบการว่าในกรณีเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่ๆ ยกตัวอย่าง เรื่องของพรีเพดที่กำหนดวันหมดอายุ จริงๆ แล้วทางออกนั้นไม่ยาก ถ้าทุกฝ่ายหาทางที่เหมาะสม แต่ทุกวันนี้ยังไม่เหมาะสมและถือเป็นการเร่งรัด โดยทางออกที่แท้จริงจะต้องมาเจรจากันว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อความเป็น ธรรมต่อทุกฝ่าย ซึ่งถ้าหากทำได้เรื่องของการร้องเรียนจะลดลง

นอก จากนี้ นพ.ประวิทย์ยังกล่าวอีกว่า เรื่องของการร้องเรียนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องร้องเรียนโทรศัพท์มือถือ และเกินครึ่งเป็นเรื่องของพรีเพด ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เรื่องใหญ่ก็สามารถยุติได้อีกหนึ่งเรื่อง อีกทั้งกรณีโรมมิ่ง ตอนนี้ผู้บริโภคหลายคนยังไม่ทราบว่าตนเองเปิดโรมมิ่งแล้ว และมีผู้ให้บริการบางรายที่ได้แถลงข่าวปี 2549 ว่าใครก็ตามใช้ลริการเกิน 90 วัน จะเปิดบริการให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาพูดคุยกันได้ว่า การบริการเหล่านี้เจ้าตัวจะต้องเป็นผู้ขอใช้บริการ

ทั้ง นี้ เชื่อว่าปัญหาของผู้บริโภคนั้น นอกจากจะมีการพูดคุยกับผู้บริโภคแล้ว กสทช. ควรจะต้องไปคุยกับผู้ประกอบการ โดยนำปัญหาใหญ่ๆ ไปพูดคุยกัน และจะสามารถหาทางออกกันได้

โจทย์ กสทช. ต่างจาก กทช.

ผอ. สบท. กล่าวว่า โจทย์ของ กสทช. ชุดใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการ จะต่างจากโจทย์ของ กทช. โดยจะแยกออกเป็น 2 เท่า เพราะ กทช. จะดูแลด้านโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ กสทช. จะดูแลด้าน Broadcasting ด้วย

“ใน ด้านของ Broadcast เอาเฉพาะแค่ออฟฟิศนั้น ยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ กสทช. ต้องทำ คือ กำหนดโครงสร้างสำนักงาน กสทช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Broadcasting ว่าควรจะมีส่วนไหนอย่างไร”

ที่ ผ่านมาในส่วนของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคนั้น กสทช. ชุดใหม่ควรเร่งดำเนินการ โดยโยงมาจากโจทย์ของ กสทช. ที่จะต้องทำ ก็จะมีโจทย์ใหญ่ กล่าวคือ ต้องพิจารณาว่า การคุ้มครองผู้บริโภคทั้งทางด้านโทรคมนาคม และด้าน Broadcast นั้น ช่องทางควรจะเป็นช่องทางเดียวกันหรือไม่ เช่น เมื่อผู้บริโภคมีปัญหา ควรที่จะร้องที่ กสทช. ได้เลย ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้ต้องร้องที่โทรคมนาคม เรื่องนั้นต้องร้องที่ Broadcasting เพราะในบางครั้งผู้บริโภคก็แยกไม่ออกว่าปัญหาที่พบเป็นเรื่องของอะไร

กำหนดเป้าและวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน

ทั้ง นี้ นพ.ประวิทย์ยังได้เปิดมุมมองถึงสิ่งแรกที่ กสทช. ชุดใหม่เข้ามาแล้วต้องดำเนินการว่า กสทช. จะต้องมาคุยกันจริงๆ ว่าวิสัยทัศน์ และผลลัพธ์ที่ต้องการเห็น กสทช. ชุดนี้ ตอนนี้ต้องบอกว่า สำนักงาน กสทช. หรือ กทช. ก็ยังทำงานอยู่ แต่การทำงานขังขาดเป้าหมายใหญ่ กล่าวคือ การทำงานก็เป็นงานประจำไปเรื่อยๆ มีกฎกติกา การบังคับใช้กฎหมายไปเรื่อยๆ แต่สังคมไม่เห็นเป้าหมายใหญ่ที่เป็นผลผลิตของ กทช.

ดัง นั้น เมื่อ กสทช. เข้ามาทำงานแล้ว ต้องกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนว่าใน 6 ปีจะเกิดอะไรขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะเน้นเรื่องโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ใน 6 ปีแล้วบรอดแบนด์แห่งชาติคืออะไร จะเห็นได้มากแค่ไหน ซึ่งพวกนี้จะต้องทำให้ชัด แน่นอนว่า บรอดแบนด์แห่งชาติสามารถตอบโจทย์เรื่อง 3G เพราะ 3G ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงบรอดแบนด์

“กสทช. ต้องมานั่งคุยกันว่าใน 6 ปีอยากเห็นอะไร ซึ่งตรงนั้นจะเป็นเป้าหมายแรก และที่เหลือค่อยเอาเป้าหมายและวิสัยทัศน์ไปลงมือทำ เพราะถ้าหากเริ่มลงมือเลยโดยไม่มีวิสัยทัศน์และไม่มีแผน ก็เป็นเหมือนการทำงานประจำไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะจับอะไรไม่ออก”

กำหนดแผนแม่บท

ทั้ง นี้ จะต้องรวมถึงแผนแม่บทด้วยที่จะต้องดำเนินการก่อน คือ แผนแม่บททั้งโทรคมนาคมและ Broadcast ต้องกำหนดโจทย์ให้ได้ว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นใน 6 ปี เพราะ กสทช. มีวาระ 6 ปี และอยู่ครบวาระแล้วอยากเห็นอะไรเกิดขึ้น ดังนั้นแล้วในกระบวนการจะต้องดึงโอเปอเรเตอร์เข้ามาด้วย รวมถึงดึงผู้บริโภคมาด้วย เพื่อมาร่วมกันคิด

อีก ทั้ง กฎหมายใหม่กำหนดไว้ว่าแผนแม่บทของ กสทช. ผูกพันกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ฉะนั้นในการทำแผนจะต้องดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาด้วย

แผนแม่บท ต้องแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

ขณะ ที่ สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กทช. ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึง กสทช. ชุดใหม่ที่จะเข้ามา จะต้องดำเนินการสิ่งใดเป็นสิ่งแรกว่า อันดับแรก กสทช. ชุดใหม่จะต้องรีบทำความเข้าใจถึงกระบวนการทางด้านองค์กรให้ครบถ้วน ต้องเข้าใจว่าแนวความคิดของการกำกับดูแลเป็นอย่างไร ซึ่งมองว่าอาจจะต้องใช้เวลาเล็กน้อย

“กสทช. ชุดใหม่ที่จะเข้ามาต้องศึกษาถึงแนวความคิดของการกำกับดูแล ซึ่งผมคิดว่าต้องใช้เวลานิดหน่อย เพราะว่ากทช. เราได้เตรียมช่วงเปลี่ยนผันไว้ให้พอสมควรแล้ว”

โดย งานที่ กสทช. ชุดใหม่จะต้องเข้ามาริเริ่มดำเนินการนั้น จะเป็นพวกงานตามกฎหมาย รวมถึงแผนแม่บททั้งหลาย ซึ่งอย่างน้อยต้องใช้เวลา 6 เดือน และดำเนินการให้แล้วเสร็จ เนื่องจากหากไม่มีแผนตามกฎหมาย จะเริ่มต้นทำงานไม่ได้ อาทิ แผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม แผนคลื่นความถี่ แผนบริการทั่วถึง ซึ่งทุกอย่างต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด

“ถ้าไม่ทำแผนตามที่กฎหมายกำหนดนั้น จะทำอะไรต่อหรือปฏิบัติอะไรไม่ได้ รวมถึงงานที่เป็นนโยบายทั้งหลายก็เป็นแผนตามกฎหมาย”

ทั้ง นี้ ในส่วนของการประมูล 3G ก็ต้องมีแผนคลื่นความถี่เช่นกันถึงจะเริ่มดำเนินการได้ เพราะจะต้องมีการกำหนดคลื่นความถี่ ย่านความถี่ เนื่องจากเรื่องเหล่านี้ในทางกฎหมายแล้วจะต้องทำ ถึงจะเดินหน้าไปต่อได้ อย่างไรก็ดี กทช. ได้ทำร่างแผนไว้ให้พอสมควรแล้ว รวมถึงแนวความคิด ทั้งนี้ทั้งนั้นยืนยันว่าต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นงานที่หนักเช่นกัน

ความคืบหน้าฟ้อง สรรหา กสทช.

นอก จากนี้สุรนันท์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการที่ไปฟ้องการสรรหา กสทช. ต่อศาลปกครองการว่า ในขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการของศาลอยู่ ซึ่งศาลยังไม่มีคำวินิจฉัย ล่าสุดผู้ถูกฟ้องคดีได้ส่งคำให้การกับศาลเรียบร้อยแล้ว และศาลกำลังวินิจฉัย ในตอนนี้ต้องรอคำสั่งของศาลและต้องให้ศาลพิจารณาคำให้การเสร็จสิ้น โดยส่วนตัวไม่ต้องไปให้ข้อมูลใดๆ เพิ่มเติมแล้ว

ทั้ง นี้ จากกระบวนการนั้น โดยศาลคิดว่ายังพอมีเวลาอยู่ที่จะพิจารณาก่อนจะวินิจฉัยว่าเป็นเช่นไร ในที่สุดแล้วกระบวนการก็คือ เลขาธิการวุฒิสภาต้องส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภา และมีการตรวจสอบทานข้อมูลโดยอาจมีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาว่าเป็นกระบวนการ ที่ถูกต้องหรือไม่ รวมถึงทุกคนเผ็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือเปล่า ซึ่งตอนนี้หากดูแล้วถือว่ายังมีเวลาอยู่จนถึงเดือน กันยายน หรือตุลาคม
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2025. All rights Reserved.