User Online ( 8 ) 
 ระบบสมาชิก  ตั้งเป็นหน้าแรก  แจ้งโอนเงิน
 ตะกร้าสินค้า ( 0 Item ) 
Home » ข่าว » ซิสโก้คาดอีก 4 ปี โมบายดาต้าพุ่งสูงขึ้น 11 เท่า เอเชียครองแชมป์
 
 ค้นหาสินค้า
 ตู้ Close Rack (31)
 ตู้ Wall Rack (9)
 ตู้ Open Rack (5)
 ตู้ Rack Accessories (39)
 สายLAN(UTP) สายแลน (183)
 เครื่อง Server (35)
 เครื่องสำรองไฟ UPS (62)
 
 สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
สมัครรับจดหมายข่าว รับข้อเสนอพิเศษ จากร้านค้า
 ข่าว

ซิสโก้คาดอีก 4 ปี โมบายดาต้าพุ่งสูงขึ้น 11 เท่า เอเชียครองแชมป์

ภายในปี 2561 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบ 5 พันล้านคน และอุปกรณ์พกพากว่า 1 หมื่นล้านเครื่อง พร้อมการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่เร็วขึ้น และอุปกรณ์อัจฉริยะที่ฉลาดมากขึ้น ขณะที่ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าใน 4 ปีข้างหน้า และแตะระดับ 190 เอ็กซาไบต์ต่อปี ภายในปี 2561 โดยคาดว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะสร้างปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายมากที่สุด 6.72 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน โดยวิดีโอครองสัดส่วนปริมาณข้อมูลโมบายมากสุด 69%

นายดั๊ก เว็บสเตอร์ รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชันของซิสโก้ เปิดเผยว่า “ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลกจะเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง โดยจะเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าใน 4 ปีข้างหน้า จนกระทั่งในปี 2561 ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลจะสูงกว่า 57 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายในปี 2553 การเติบโตดังกล่าวจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า โมบิลิตี จะเป็นส่วนสำคัญในเครือข่าย รวมถึงคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภค และองค์กรที่จะได้รับ นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสสำคัญสำหรับผู้ให้บริการในการใช้ Internet of Everything ให้เป็นประโยชน์ต่อไป”

ข้อมูลจากรายงานคาดการณ์ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลก Cisco® Visual Networking Index™ สำหรับปี 2556 ถึง 2561 ระบุว่า ปริมาณความหนาแน่นข้อมูลโมบายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เท่าใน 4 ปีข้างหน้า และแตะระดับ 190 เอ็กซาไบต์ต่อปีภายในปี 2561 (เอ็กซาไบต์เป็นหน่วยของข้อมูล หรือที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งเท่ากับหนึ่งล้านล้านล้านกิกาไบต์) ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนการเชื่อมต่อโมบายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนบุคคล และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Machine-to-Machine หรือ M2M) ซึ่งจะเกิน 10,000 ล้านการเชื่อมต่อภายในปี 2561 และมากกว่าจำนวนประชากรโลกถึง 1.4 เท่า (สหประชาชาติประเมินว่า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 7.6 พันล้านคนภายในปี 2561)

โดยหากเทียบปริมาณดังกล่าวกับการใช้งานจริงจะได้เท่ากับ 190 เท่าของปริมาณความหนาแน่นของอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (ไอพี) ทั้งหมด ทั้งบนเครือข่ายพื้นฐาน และโมบายที่สร้างขึ้นในปี 2543 หรือเท่ากับรูปภาพ 42 ล้านล้านรูป (เช่น รูปภาพที่ส่งผ่าน MMS หรือ Instagram) ซึ่งเท่ากับประชากรโลกทั้งหมดส่งรูปภาพ 15 รูปต่อคนเป็นประจำทุกวันตลอดหนึ่งปีเต็ม หรือคลิปวิดีโอ 4 ล้านล้านคลิป (เช่น YouTube) ซึ่งเท่ากับประชากรโลกแต่ละคนส่งคลิปวิดีโอ 1 คลิปเป็นประจำทุกวันตลอดหนึ่งปีเต็ม

ทั้งนี้ ปริมาณความหนาแน่นบนโมบายอินเทอร์เน็ตเฉพาะในปี 2560 ถึง 2561 คาดว่าจะเพิ่มที่อัตรา 5.1 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน ซึ่งมากกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณความหนาแน่นของโมบายอินเทอร์เน็ตทั้งหมดในปี 2556 (1.5 เอ็กซาไบต์ต่อเดือน)

สำหรับปี 2556 ถึง 2561 ซิสโก้ คาดการณ์ว่า การเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายทั่วโลกจะแซงหน้าปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลบนเครือข่ายพื้นฐานถึง 3 เท่า แนวโน้มต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่ผลักดันการเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบาย มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้น โดยภายในปี 2561 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.9 พันล้านคน (เพิ่มขึ้นจาก 4.1 พันล้านคนในปี 2556) มีการเชื่อมต่อโมบายเพิ่มมากขึ้น และภายในปี 2561 จะมีอุปกรณ์/จุดเชื่อมต่อโมบายกว่า 10,000 ล้านแห่ง รวมถึงอุปกรณ์พกพาส่วนบุคคล 8 พันล้านเครื่อง และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (M2M) กว่า 2 พันล้านจุด โดยเพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับระบบโมบาย และการเชื่อมต่อ M2M ราว 7 พันล้านจุด

ในปี 2556 จะมีการเชื่อมต่อโมบายที่รวดเร็วมากขึ้น โดยความเร็วเฉลี่ยของเครือข่ายโมบายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จาก 1.4 Mbps ในปี 2556 เป็น 2.5 Mbps ในปี 2561 ขณะที่วิดีโอโมบายที่เพิ่มขึ้นภายในปี 2560 จะคิดเป็นสัดส่วน 66% ของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายทั่วโลก (เพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2555)

โดยการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะเข้าสู่อุปกรณ์ที่ฉลาดขึ้น (Smarter Devices) ภายในปี 2561 กว่า 54% ของการเชื่อมต่อโมบายทั่วโลกจะเป็นการเชื่อมต่อ “อัจฉริยะ” เพิ่มขึ้นจาก 21% จากปี 2556 อุปกรณ์ และการเชื่อมต่ออัจฉริยะมีความสามารถขั้นสูงในด้านการประมวลผล/มัลติมีเดีย และมีการเชื่อมต่อ 3G เป็นอย่างน้อย ภายในปี 2561 สมาร์ทโฟน, แล็ปท็อป และแท็บเล็ต จะมีสัดส่วนถึง 94% ของปริมาณข้อมูลโมบายทั่วโลก ขณะที่ปริมาณความหนาแน่น M2M จะคิดเป็นสัดส่วน 5% ของปริมาณข้อมูลทั่วโลกในปี 2561 ขณะที่โทรศัพท์มือถือระดับพื้นฐาน จะคิดเป็นสัดส่วนที่เหลือ 1% ของปริมาณข้อมูลโมบายทั่วโลกภายในปี 2561 และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ จะคิดเป็นสัดส่วน 0.1% สวนทางกับโมบายคลาวด์ที่จะเติบโต 12 เท่านับจากปี 2556 ถึง 2561 หรือคิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี

M2M หมายถึงแอปพลิเคชันที่ทำให้ระบบไร้สายและระบบที่เชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อรองรับระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GPS), การติดตามอุปกรณ์, มิเตอร์สาธารณูปโภค, ระบบรักษาความปลอดภัย และระบบวิดีโอวงจรปิด “อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้” คือเซ็กเมนต์ใหม่ที่เพิ่มเติมไว้ในหมวดหมู่การเชื่อมต่อ M2M เพื่อแสดงเส้นทางการเติบโตของ Internet of Everything (IoE) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกัน หรือ อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ครอบคลุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ใช้สวมใส่ เช่น นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ แว่นตาอัจฉริยะ อุปกรณ์ตรวจสอบติดตามด้านสุขภาพและฟิตเนส สแกนเนอร์แบบสวมใส่ได้ที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกับเครือข่ายโดยตรงด้วยการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ในอุปกรณ์ หรือผ่านทางอุปกรณ์อื่น เช่น สมาร์ทโฟนที่มี Wi-Fi และ Bluetooth

ในปี 2556 การเชื่อมต่อ M2M คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 5% ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโมบาย และสร้างปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายมากกว่า 1% ของทั้งหมด และภายในปี 2561 การเชื่อมต่อ M2M จะคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 20% ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโมบาย และสร้างปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบายเกือบ 6% ของทั้งหมด ขณะที่ในปี 2556 มีอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ 21.7 ล้านเครื่อง และภายในปี 2561 จะมีอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ทั่วโลก 176.9 ล้านเครื่อง หรือเติบโตที่อัตราเฉลี่ย 52 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

การเชื่อมต่อโมบายโดยเฉลี่ยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากปี 2556 ถึง 2561 ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายโมบายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการรองรับการเติบโตของปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลโมบาย
Copyright RackServerOnline.com 2010 - 2024. All rights Reserved.